เทคนิคการบริหารงาน HR ที่กล่าวโทษ - เลิกจ้าง – ต่อสู้ให้ชนะคดีในศาล

รายละเอียด เทคนิคการบริหารงาน HR ที่กล่าวโทษ - เลิกจ้าง – ต่อสู้ให้ชนะคดีในศาล

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



การประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนนายจ้างตระหนักอยู่เสมอว่า จะทำทุกวิธีทางที่จะผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้า การผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ต้องใช้การลงทุน การจ้างแรงงานจำนวนมาก การอยู่ร่วมกันของพนักงานในจำนวนมากๆ ก็มักจะหนีไม่พ้นในเรื่องทำผิดวินัยในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีการกล่าวโทษทางวินัย หรือการเกิดข้อพิพาทแรงงาน บางกรณีความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับในการทำงานก็จะมีความผิดถึงกับถูกเลิกจ้าง

          ดังนั้นผู้บริหารในองค์กรสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมี่ความรู้ ในข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้รับการอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจในหลักการทำงานของตำแหน่งงานระดับผู้บริหาร - การใช้อำนาจตามหน้าที่ - และการเรียนรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานในองค์กร

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงต่อการไกล่เกลี่ยปัญหา - การกำหนดความผิดที่จะต้องกำหนดโทษทางวินัย เป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง และเรียนรู้การใช้เทคนิคเพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นช้ำๆ อีก

3. เพื่อเรียนรู้และทราบขั้นตอน - วิธีการนำเสนอข้อมูล - นำเสนอนโยบายขององค์กรต่อผู้ประนอมคดีในศาลอันอาจจะมีผลต่อการไกล่เกลี่ยคดีและตกลงกันได้ให้ปัญหานั้นยุติลง โดยไม่ต้องต่อสู้คดีกัน หรือเรียนรู้ขั้นตอน – กระบวนการต่อสู้ที่จะทำให้ชนะคดีในศาลต้องดำเนินการอย่างไร

หัวข้ออบรม

หมวด : การบริหารงาน และ การกล่าวโทษ - เลิกจ้าง

1. ประมวลจริยธรรม และการดำรงตนให้อยู่ในวิชาชีพของผู้บริหารงาน HR ที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร..?

       ยกตัวอย่างการปฏิบัติตน 10 ประการ

2. การทำสัญญาจ้างแรงงานทดลองงาน - สัญญาจ้างแรงงานปลายปิด - สัญญาจ้างแรงงานปลายเปิดที่ดี

เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อองค์กรภายหลังต้องเขียนอย่างไร..?

 ยกตัวอย่าง การทำสัญญาจ้างต่างๆ

3. การเขียนระเบียบปฏิบัติ ผู้บริหาร - HR. เขียนให้ดี เขียนให้ควบคุม ให้สอดคล้องกับข้อบังคับในการทำงาน และข้อกฎหมาย ต้องเขียนอย่างไร..?

   การลางาน - การอนุมัติการลา - การจ่ายสวัสดิการต่างๆ - ระเบียบการจ่ายโบนัส -

การเปลี่ยนแปลงวันหยุด

4. การเขียนสัญญา เพื่อให้ผู้ทำผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำ

   ความเสียหายจากการทำงาน - ยักยอกทรัพย์ - ทำผิดสัญญาจ้าง - กรณีออกจากงานจะไม่เรียกร้องสิทธิ์ใดๆ

5. การเขียนคำกล่าวโทษ หรือออกหนังสือเลิกจ้าง เขียนให้ควบคุมความผิด ต้องเขียนอย่างไร..? (เพราะมีผลต่อการผิดซ้ำคำเตือน หรือการต่อสู้คดีในศาล)

   ยกตัวอย่างความผิดกรณีต่างๆ

6. ตำแหน่งงานที่เรียกรับเงินประกันการทำงาน - กรณีคืนเงินประกัน -กรณีการรับผิดของผู้ค้ำประกัน

ยกตัวอย่าง การเรียกรับ - การคืน - การรับผิดกรณีต่างๆ

7. การเขียนระเบียบเกษียณก่อนอายุตามข้อบังคับในการทำงาน - การจ้างผู้เกษียณงานแล้วจ้างให้ทำงานอีก ต้องเขียนอย่างไร..?

   ยกตัวอย่าง การเกษียณตามโครงการ - การทำสัญญาจ้าง

8. ปัญหาที่ทำให้ลูกจ้างทำผิดข้อบังคับในการทำงาน - ทำผิดวินัยบ่อยๆ มาจากอะไร..?

   ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 7 กรณี

9. สัญญาที่นายจ้างทำขึ้นที่ขัดต่อกฎหมาย (เป็นโมฆะ) เป็นสัญญาลักษณะใด..?

   ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 5 กรณี

10. เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นในองค์กรกรณีเป็นรายบุคคลหรือชุมนุมในภาพรวมเพื่อกดดันนายจ้าง ผู้บริหารหรือ HR. จะใช้เทคนิคอย่างไร..? ที่จะทำให้ปัญหายุติลง

   ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 7 กรณี

11. การพิจารณาย้ายตำแหน่งงาน พนักงานที่ประพฤติตนดื่น หรือสร้างปัญหาเป็นอาจิณ (ย้ายไปอยู่ที่ที่ควรจะอยู่)

   ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 7 กรณี

12. ลักษณะทำผิดข้อบังคับในการทำงาน – ผิดวินัยในการทำงานกรณีต่างๆ ที่เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเลิกจ้างไม่ได้ โดยต้องออกเป็นหนังสือเตือน

   ยกตัวอย่าง กรณีความผิดที่เลิกจ้างได้และกรณีต้องออกใบเตือน

13. ทำไม..? นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่าย - เป็นหมื่น - เป็นแสน หรือจ่ายตามที่ลูกจ้างฟ้อง (ทั้งที่ลูกจ้างทำผิด)

   ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 9 กรณี

14. เลิกจ้างอย่างไร..? ไม่ให้เกิดปัญหาลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง

    ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 7 กรณี

15. นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทำไม..? ลูกจ้างต้องจ่าย ทั้งที่ (ศักยภาพคือลูกจ้าง)

    ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 9 กรณี

16.ลูกจ้างฟ้องศาล กรณีนายจ้างทำผิดต่อลูกจ้างต้องรับผิดในทางเสียหายอย่างไร..?

    ยกตัวอย่าง การเรียกร้องสิทธิ 5 กรณี

17. ผู้ฟ้องมีสิทธิ์เรียกเงินดอกเบี้ยในการฟ้อง และอายุความการฟ้องมีอะไรบ้าง

    ยกตัวอย่าง กรณีเงินที่เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 15 และร้อยละ 7.5 ต่อปี -อายุความ 2 ปีและ 10 ปี

18. สวัสดิการ ที่เป็นค่าจ้างและไม่เป็นค่าจ้าง มีอะไรบ้าง..?

      ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 10 กรณี

19. กรณีลูกจ้างร้องทุกข์ต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารหรือ HR. จะใช้เทคนิคอย่างไร..? ให้ปัญหายุติลง

     ยกตัวอย่าง กรณีต่างๆ 7 กรณี

20. กรณีมีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน นายจ้าง - ผู้บริหาร - HR. จะต่อสู้ให้ชนะคดี ต้องเตรียมหมัดเด็ด อย่างไร..?

    ยกตัวอย่าง การเตรียมความพร้อม 16 ประการ

หมวด : คำพิพากษาฎีกา ที่ตัดสินคดีแรงงาน ที่นายจ้าง - ผู้บริการ - HR. ควรรู้

21. คำว่าลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงเป็นการทำผิดในลักษณะใด..?

    มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

22. ในสัญญาจ้างระบุว่าเมื่อลูกจ้างออกจากงาน ภายใน 2 ปี จะไม่ไปทำงาน - ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือเป็นลักษณะเป็นการแข่งขันกับนายจ้างสัญญาลักษณะนี้มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่..? เพราะอะไร

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

23. ลูกจ้างถูกตำรวจจับเพราะเล่นการพนันได้ถูกควบคุมตัวเอาไว้ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือไม่ เลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรหรือไม่..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

24. เป็นแม่บ้านละทิ้งหน้าที่ออกนอกโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตบ่อยครั้งนายจ้างได้เตือนด้วยวาจาแล้วกรณีเลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรหรือไม่..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

25. ทำผิดวินัยในการทำงานได้รับใบเตือน 4 ใบ 1. มาทำงานสาย 2. นอนหลับในที่ทำงาน 3. ไม่อยู่ในที่ทำงาน 4.ไม่อยู่ในที่ทำงาน นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

26. ในเวลางาน พูดจาก้าวร้าว -ไม่เคารพผู้บังคับบัญชา - ละทิ้งหน้าที่ 1 หนึ่งวันทำงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าอะไรหรือไม่..? เพราะอะไร

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

27. ลูกจ้างทำผิดมีหลักฐานชัดแจ้งเพียงพอที่จะลงโทษตามความผิดที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ ได้ นายจ้างเตือนด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นการเตือนด้วยหนังสือหรือไม่..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

28. ค่าคอมมิชชั่นเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ตามตำแหน่งพนักงานขายสินค้าทุกเดือนแต่ละเดือนจะได้ไม่เท่ากันถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

29. นายจ้างเลิกจ้างเพราะประสบปัญหาขาดทุนต้องจ่ายค่าต่างๆ ให้กับลูกจ้างอะไรบ้าง..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

30. เลิกจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วต้องจ่ายค่าบอกกล่าว - ค่าชดเชย - ค่าเสียหายหรือไม่..? พิจารณาจากอะไร

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

31. ทำข้อตกลงกับนายจ้างต่อหน้าพยานคือผู้ตรวจแรงงานว่าเมื่อได้รับค่าบอกกล่าว - ค่าชดเชยแล้วลูกจ้างจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าใดๆ ต่อนายจ้างอีกต่อมาลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยและเงินที่ค้างจ่ายอื่นๆ ทำได้หรือไม่..? เพราะอะไร

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

32. กรณี ขู่บังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออก เป็นการลาออกหรือนายจ้างเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานจะได้รับสิทธิอย่างไร..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

33. ใช้ขวดเบียร์ตีศีรษะหัวหน้างานแตกเย็บไป 13 เข็มเป็นการกระทำนอกบริษัทฯ นายจ้างกล่าวโทษ - เลิกจ้างได้หรือไม่..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

34. ทำผิดวินัย - มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม - นายจ้างแจ้งให้พิจารณาตัวเอง - ลูกจ้างลาออกโดยนายจ้างจ่ายเงินช่วยเหลือตามสมควรถือว่าเป็นการลาออกหรือนายจ้างเลิกจ้าง

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

35. ทำไม..? สวัสดิการที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นได้ทั้งค่าจ้างและไม่เป็นค่าจ้าง เพราะจะมีผลต่อการเอาไปรวมเป็นค่าจ้างกรณีออกจากงาน

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

36. เลิกจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่..? เพราะอะไร

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37. เลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างวิพากษ์วิจารณ์ให้ผู้บังคับบัญชาได้รับความเสียหายเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่..? เพราะอะไร

      มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38. นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างภายในกี่วันกรณีผิดนัดต้องเสียค่าดอกเบี้ยอย่างไร..? มีอายุความกี่ปี

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

39. ศาลแรงงานพิจารณา พิพากษาคดีเกินคำที่ลูกจ้างฟ้องศาลพิจารณาจากอะไร..?

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

40. นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างก่อนครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเพียง 1 วันเนื่องจากทำผิดวินัยกรณีร้ายแรงตามข้อบังคับฯ ตามระเบียบปฏิบัติ (ทำไม..? ลูกจ้าง............เงินโบนัส เพราะอะไร)

     มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

• ถาม - ตอบ – แนะนำ

ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - เจ้าของกิจการ - ผู้บริการ - HR.

ให้คำปรึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช่จ่าย

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

โรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5

บุคคลทั่วไป ท่านละ 3,900 บาท

สมาชิก ท่านละ 3,500 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 2,900 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**


ข้อมูลอื่นๆ



บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

www.knctrainingcenter.com

knctrainingcenter@hotmail.com

โทร. : 02-157-9083, 062-315-5283


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 ศุกร์ที่ 10 ก.ค. 2020 09:00 - 16:00 น. โรงแรมบูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซ.5

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2006-0137
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 792
  • หมวดหมู่: งานบุคคล HR การทำงาน
  • คำค้นหา: -

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: Knctrainingcenter
  • ชื่อผู้ติดต่อ: กนกวรรณ
  • เบอร์มือถือ: 062 315-5283
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: knctrainingcenter@hotmail.com
  • เว็บไซต์: http://www.knctrainingcenter.com
  • LINE Id: Knctraining

คอร์สอบรมที่คุณน่าจะสนใจ