เทคนิคการตรวจเอกสารตาม Letter of Credit & UCP600 เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้า

รายละเอียด เทคนิคการตรวจเอกสารตาม Letter of Credit & UCP600 เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้า

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



Letter of Credit เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการชำระเงินค่าสินค้าทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ถ้าเข้าใจเงื่อนไขของ L/C คู่ค้าก็ไม่สามารถเอาเปรียบเราได้ โดยเฉพาะเมื่อมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียมใครควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น หรือผู้ส่งออกที่ต้องส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขของ L/C ยิ่งต้องทำเอกสารหาเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ L/C กำหนด มิฉะนั้นอาจทำให้ไม่ได้รับเงินตามกำหนดหรือแย่กว่านั้นอาจไม่ได้รับเงินเลย

ผู้นำเข้าก็เช่นเดียวกัน ก่อนจะเห็นสินค้าว่าถูกต้องตามคุณภาพ รวมทั้งจำนวนสินค้าครบถ้วนหรือไม่ก็ต้องชำระเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า ก็ต้องเข้าใจใน L/C และเอกสารนั้นถูกต้องหรือไม่

ดังนั้นจะต้องเข้าในเชิงลึกของ L/C โดยละเอียด ว่าอย่างไรทำไม่ได้ อย่างไรทำได้ การสัมมนาครั้งนี้จะให้รายละเอียดในการอ่าน L/C และ UCP 600 ที่ออกโดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ที่มีทั้งหมด 39 มาตรา การจะบอกว่าเอกสารมีที่ผิดหรือถูกนั้นก็ใช้มาตราต่าง ๆ ของ UCP 600 เป็นข้ออ้างอิง เพื่อการนำเสนอเอกสารผ่านธนาคารได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว

เนื้อหาหลักสูตร

1. วิเคราะห์ Letter of Credit :

- การใช้ Standby ~L/C เพื่อการค้ำประกัน

- ความได้เปรียบเสียเปรียบเทอมการชำระเงิน L/C RESTRICTED หรือไม่

- Incoterms ® 2020 ที่ใช้สอดคล้องตามที่ตกลงหรือไม่

2. ต้องการเอกสารอะไรบ้าง และใครเป็นผู้ออกเอกสารนั้น

3. การใช้ UCP 600 ทั้ง 39 มาตราในการจัดทำเอกสาร

4. UCP 600 ได้ให้ความหมายของ Shipment term ว่านับอย่างไร ถ้า L/C ระบุ

- On or about

- First Half, Second Half

- Beginning, Middle, End

5. UCP 600 จะระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคาร

(Issuing Bank, Confirming Bank)

- มาตรฐานในการตรวจเอกสารตามมาตราที่ 14 ที่จะต้องปฏิบัติ

- การปฏิเสธเอกสารที่มีข้อผิดพลาด (Discrepancy) ของการใช้มาตราที่ 16 ต้องปฏิบัติอย่างไร

- การขอใบตราส่งให้สอดคล้องใน L/C (ใช้มาตราที่ 19 ถึง 25)

- ความหมายของคำว่า “CLEAN” ตามมาตราที่ 27

- การจัดหา Insurance Policy/Certificate ตามมาตราที่ 28

- ถ้าวันหมดอายุของ L/C ตรงกับวันหยุดทำอย่างไร (มาตราที่ 29)

- ความหมายของคำว่า “ABOUT” ตามมาตราที่ 30

- การใช้ “PARTIAL SHIPMENT” ตามมาตราที่ 31

- การส่งสินค้าเป็นงวด ๆ ตามมาตราที่ 32

- การยื่นเอกสารนอกเวลาทำการของธนาคาร ตามมาตราที่ 33

- เอกสารที่ปลอมแปลงใครรับผิดชอบ มาตราที่ 34

- เอกสารสูญหายล่าช้าใครรับผิดชอบ มาตราที่ 35

- เหตุสุดวิสัย ตามมาตราที่ 36

- ผู้ซื้อจะต้องรับผิดต่อการเปิด L/C มาตราที่ 37

- ผู้ขายต้องการโอน L/C ให้กับผู้อื่น ต้องทำอย่างไร มาตราที่ 38

- จะโอนบางส่วนได้ ต้องทำอย่างไร

- ผู้รับโอนมาแล้วจะโอนต่อทำอย่างไร

- ผู้รับประโยชน์ตาม L/C จะหา Supplier ได้อย่างไร มาตราที่ 39

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม :

ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติของบริษัทส่งออก ผู้รับผิดชอบ Logistic บริษัทเรือ บริษัทประกันภัย พนักงานธนาคารด้านต่างประเทศ

วิธีการสัมมนา

บรรยาย กรณีศึกษา (Case Study)

อาจารย์วัชระ ปิยะพงษ์

โรงแรมจัสมิน ซิตี้

บุคคลทั่วไป ท่านละ 3,900 บาท

สมาชิก ท่านละ 3,500 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 2,900 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**


ข้อมูลอื่นๆ



บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

www.knctrainingcenter.com

knctrainingcenter@hotmail.com

โทร. : 02-157-9083, 062-315-5283


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 ศุกร์ที่ 16 ต.ค. 2020 09:00 - 16:00 น. โรงแรมจัสมิน ซิตี้

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2010-0033
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 529
  • หมวดหมู่: โลจิสติกส์ นำเข้า-ส่งออก
  • คำค้นหา: -

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
  • ชื่อผู้ติดต่อ: กนกวรรณ
  • เบอร์มือถือ: 062 315-5283
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: knctrainingcenter@hotmail.com
  • เว็บไซต์: www.knctrainingcenter.com
  • LINE Id: Knctraining

คอร์สอบรมที่คุณน่าจะสนใจ