รายละเอียดคอร์สอบรม
หลักกการและเหตุผล
การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน (soil and groundwater contamination) ในบริเวณโรงงานเป็นปัญหาที่เรื้อรังและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวแตกต่างจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เนื่องจากการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและจะไม่เป็นประเด็นเลยจนกระทั่งตรวจพบการแพร่กระจายของสารปนเปื้อนนั้นส่งผลกระทบต่อชุมชนตลอดจนก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพนอกจากนี้ปัญหาการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินในบริเวณโรงงานเป็นปัญหาที่ควบคุมได้ยาก โดยสาเหตุหลักของปัญหาการปนเปื้อนของสารอันตรายในดินและน้ำใต้ดินในโรงงาน
ส่วนใหญ่เกิดจากขาดการบริหารจัดการตามหลักวิชาการที่ดี หรือหลุมฝังกลบขยะที่เสื่อมสภาพหรือไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ หรือจากการลักลอบทิ้งและลักลอบฝังกลบซึ่งเมื่อสารอันตรายมีการปนเปื้อนหรือรั่วไหล (spill) ลงสู่พื้นดิน บางส่วนจะระเหยออก (หากมีคุณสมบัติของการระเหย) บางส่วนจะอิ่มตัวอยู่ในดิน ซึ่งส่วนที่อยู่ในดินนั้น บางส่วนจะเกาะติดกับอนุภาคของดิน บางส่วนซึมลงตามชั้นดินในแนวดิ่งตามแรงโน้มถ่วงของโลก จนกระทั่งถึงชั้นน้ำใต้ดิน ซึ่งเมื่อถึงชั้นน้ำใต้ดินสารอันตรายจะละลายกับน้ำใต้ดิน หรือตกตกตะกอนอยู่ในชั้นน้ำ ตลอดจนถูกพัดพาไปในทิศทางเดียวกับน้ำใต้ดิน และจะเข้าสู่ระบบนิเวศน์ในชั้นน้ำใต้ดินในที่สุด ส่งผลให้เมื่อมีการสูบและนำน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้ตรวจพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น สารในกลุ่มสารอินทรีย์ระเหย กลุ่มโลหะหนัก ซึ่งหลายชนิดส่งผลต่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์
- เพื่อทราบแนวทาง วิธีการในการเก็บและวิเคราะห์ และติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในดินและ
น้ำใต้ดินในบริเวณโรงงาน
- เพื่อทราบเทคโนโลยีการบำบัดฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินรูปแบบต่างๆ
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์
• อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนตัวของมลพิษในน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน และในทะเล และการบำบัด
สารปนเปื้อนในน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์
• อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี
• คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษาในการจัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการติดตามการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดิน
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
o หัวหน้างาน พนักงาน ผู้มีหน้าที่จัดทำรายงานฯ และผู้ที่สนใจทั่วไป
เนื้อหาหลักสูตร
แบ่งเป็น 2 หัวข้อสำคัญๆ ดังนี้
o การติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินในบริเวณโรงงาน
- การศึกษาทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน - การกำหนดติดตั้งบ่อสังเกตุการณ์
- การเจาะติดตั้งบ่อสังเกตุการณ์ - การเก็บตัวอย่างดิน
- การเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดิน - การวิเคราะห์ตัวอย่างดินและน้ำใต้ดิน
o เทคโนโลยีการบำบัดฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดิน
- การกักกันและควบคุมการแพร่กระจายของสารปนเปื้อน
- การบำบัดในพื้นที่ด้วย permeable reactive barrier
- การบำบัดในพื้นที่กระบวนการทางกายภาพเคมี
- การบำบัดในพื้นที่ด้วยกระบวนการทางชีวภาพและพืช
ข้อมูลอื่นๆ
**สำหรับสมาชิกสภาวิศวกร**
** การอบรมนี้ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรให้มีจำนวนความรู้ (PDU)
จำนวน 4.5 หน่วย (รหัสกิจกกรรม 904-06-7013-00/2106-001)**
ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม
รอบ | วันอบรม | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
1 | พุธที่ 3 พ.ย. 2021 | 09:00 - 16:00 น. | ระบบ Zoom |