หัวหน้างานกับการบริหารงานผู้ใต้บังคับบัญชา : สร้างจิตสำนึกอย่างไรให้รักองค์กรและอยู่กับองค์กรได้นานๆ

รายละเอียด หัวหน้างานกับการบริหารงานผู้ใต้บังคับบัญชา : สร้างจิตสำนึกอย่างไรให้รักองค์กรและอยู่กับองค์กรได้นานๆ

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้หัวหน้างานมีความรู้มีความเข้าใจและใช้จิตวิทยาในการแนะนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีจิตสำนึกรักองค์กร-ให้เกียรติองค์กรและอยู่กับองค์กรได้นานๆ ไม่เปลี่ยนงานบ่อย

2. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการสร้างแรงงานสัมพันธ์อันดีงานระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างหรือระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา

3. เพื่อให้หัวหน้างานนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้จริงต่อการระงับข้อพิพาทแรงงานและการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรให้ปัญหานั้นยุติลง

4. เพื่อให้ทราบและให้เข้าใจถึงการกล่าวโทษทางวินัยต้องปฏิบัติอย่างไรถึงจะไม่ขัดต่อข้อบังคับในการทำงาน หรือผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายอื่น

หัวข้อในการอบรม

หมวด 1: ปัจจัยหลักที่จะทำให้พนักงานมองเห็นองค์กรมีความเป็นเลิศ

1. ผู้บริหาร – หัวหน้างานจะสร้างจิตสำนึกอย่างไร ? ให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักองค์กร

· ต้องวิเคราะห์ถึง จุดแข็งขององค์กร อย่างน้อย 10 ประการ

2. การสร้างสิ่งโน้มน้าวจิตใจให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้นานๆ หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?

· ตรวจสอบสิ่งที่ควรจะได้รับในด้าน-สภาพการทำงาน-ค่าจ้าง-สวัสดิการ-ที่มีอยู่อย่างน้อย 10 ประการ

3. การสร้างแรงงานสัมพันธ์อันดีงามระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา - หัวหน้างานต้องเป็นผู้ให้อย่างไร..?

· ต้องเป็นผู้เปิดใจกว้างและเป็นผู้ให้อย่างน้อย 10 ประการ

หมวด 2: การระงับข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร

4. หัวหน้างานพบปัญหาผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันละทิ้งหน้าที่ในเวลาทำงานออกนอกหน่วยงานไปชุมนุมกัน เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายโบนัสตามที่ต้องการหัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?

· เทคนิคการแก้ปัญหาและทำให้ปัญหาหมดไปต้องมีความพร้อมหลายประการ

5. กรณีมีผู้ใต้บังคับบัญชาชกต่อยกันในเวลาทำงานหัวหน้างานจะไกล่เกลี่ยปัญหาอย่างไร? เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานร่วมกันต่อไปได้

· ต้องใช้จิตวิทยาในการอบรมอย่างน้อย 5 ขั้นตอน

6. อะไร? คือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพนักงานทำผิดวินัยในการทำงานบ่อยๆ

· ยกตัวอย่างความบกพร้องที่เป็นจุดอ่อนในด้านต่างๆ อย่างน้อย 7 ประการ

หมวด 3 : การพิจารณาความผิดและกล่าวโทษทางวินัย

7. มาทำงานสายเป็นอาจิณ-ลาไม่ถูกระเบียบก็บ่อย-ในรอบปีหยุดงานมากจนเป็นที่หนึ่งของแผนกหัวหน้างานจะกล่าวโทษหรือเลิกจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

8. กรณีเข้าถึงหน่วยงานสายเป็นประจำหรือก่อนทำงานไม่ใส่ใจ-เพิกเฉย-ไม่เข้าร่วมการประชุมกับหัวหน้างานบ่อยๆ จะกล่าวโทษต้องดำเนินการอย่างไร?

9. โทรศัพท์แจ้งหัวหน้างานเพื่อลากิจ 2 วัน หัวหน้างานรับทราบแต่แจ้งว่าไม่อนุมัติในการลาพนักงานก็หยุดงานไปเมื่อถึงวันทำงานมายื่นใบลาหัวหน้างานต้องทำอย่างไร?

10.โทรศัพท์แจ้งหัวหน้างานว่าไม่สบายขอลาหยุด 1 วัน เมื่อมาทำงานขอลาป่วยหัวหน้างานมีข้อมูลว่าได้ขับรถรับจ้างมอเตอร์ไซค์วินทั้งวัน กรณีเช่นนี้จะมีความผิดอย่างไร?

11. หยุดงานไป 4 วัน ไม่ได้โทร-ไม่ได้แจ้ง-ไม่ได้ลา เมื่อถึงวันมาทำงานมายื่นใบลาป่วย พร้อมมีใบรับรองแพทย์มาประกอบการลาด้วย ผู้บริหาร-หัวหน้างานต้องทำอย่างไร?

12. ออกนอกหน่วยงานไปโผล่หน่วยงานอื่นบ่อยๆโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหัวหน้างานต้องทำอย่างไร?

13.ได้รับการปรับเงินขึ้นน้อยกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น แล้วโวยวายหัวหน้างานจะยุติปัญหาอย่างไร?

14. ลงลายมือชื่อ เพื่อทำ OT ในวันทำงาน ปกติหรือวันหยุดถึงเวลาทำงานแล้วไม่ทำหัวหน้างานจะลงโทษอย่างไร?

15. ลงมือทำงานก่อนเวลาทำงานปกติได้รับอุบัติเหตุหัวหน้างานจะถือว่าเป็นในงานหรือนอกงานจะเข้ารับการ รักษากองทุนเงินทดแทนหรือกองทุนประกันสังคม

16. อนุญาตให้ผู้ใต้บังคับบัญชาออกนอกโรงงานไปทำธุรกิจส่วนตัว 15 นาที เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางหัวหน้างานจะถือว่าเป็นในงานหรือนอกงาน

17. หัวหน้างานตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบว่ามีพนักงานนั่งหลับในเวลางานเป็นอาจิณจะลงโทษหรือเลิกจ้าง ต้องทำออย่างไร?

18.ได้รับการร้องทุกข์จากผู้ใต้บังคับบัญชาหญิงว่ามีเพื่อนร่วมงานชายได้พูดจาลวนลาม ซ้ำยังทำท่าทางประกอบหลายครั้งจนรู้สึกอาย หัวหน้างานจะกล่าวโทษอย่างไร? (เพราะเป็นความผิดร้ายแรง)

19. ชอบเสพสิ่งมึนเมาหรือสารเสพติดแล้วเข้ามาทำงานจะกล่าวโทษหรือเลิกจ้างหัวหน้างานต้องทำอย่างไร?

20. ตั้งใจเล่นโทรศัพท์หรือโน้ตบุ๊กในเวลางาน อันมิใช่เรื่องงานหัวหน้างานจะแก้ปัญหาอย่างไร? จะกล่าวโทษ-เลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

21. ใช้สถานที่ทำงานแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตน เช่น ขายหวย-ขายของผ่อน-ขายของกิน-ขายสิ่งเสพติด-รับแทงหวย-รับแทงบอล-ปล่อยเงินกู้-ตั้งวงแชร์ ผู้บริหาร-หัวหน้างานจะกล่าวโทษให้ถูกกฎหมายต้องจัดการอย่างไร?

22. ร่วมกันชุมนุมในเวลางานเพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายค่าสวัสดิการ-ค่าจ้าง หัวหน้างานจะใช้เทคนิคอย่างไร? ให้ปัญหายุติลง

23. ชกต่อยกันในเวลางานเป็นความผิดที่เลิกจ้างได้และเลิกจ้างไม่ได้ ผู้บริหาร-หัวหน้างานจะพิจารณาจากอย่างไร?

24. ร่วมกันทำผิดวินัยหลายคนผู้บริหาร-หัวหน้างาน เลิกจ้างเป็นบางคน ทำได้หรือไม่เพราะอะไร?

25. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาเป็นอาจิณ หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?

26. ไม่ยอมเซ็นรับผิด ในหนังสือเตือน หัวหน้างานต้องดำเนินการอย่างไร?

27.ชอบเรียกรับผลประโยชน์หรือสิ่งของ จากผู้มาติดต่องานกับบริษัทฯ ในปลายปี ทุกๆ ปี หัวหน้างานจะกล่าวโทษอะไรได้บ้าง?

28. แอบเอาชิ้นงานออกไปนอกรั้วข้างโรงงาน 15 เมตร หัวหน้างานสอบสวนจึงรับสารภาพและเอามาคืนไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม กรณีเช่นนี้หัวหน้างานจะลงโทษอย่างไร?

29.ในระหว่างเป็นลูกจ้างเอาความลับทางการค้าของนายจ้าง ไปเปิดเผยให้กับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง จะมีความผิดอย่างไร?

30. ทำความเสียหายแล้วออกจากงานไป ผู้ค้ำประกันการทำงานจะรับผิดตามกฎหมายใหม่ ต่อความเสียหายในอัตราเท่าใด?

31. ยื่นใบลาออกต่อหัวหน้างานแล้วจะมีผลเมื่อใด?

32. ผู้ใต้บังคับบัญชาหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ขอทำงานล่วงเวลา - ขอทำงานในวันหยุดด้วยความสมัครใจหัวหน้างานต้องทำอย่างไร?

33. เปลี่ยนกะทำงานกับเพื่อนร่วมงานถึงเวลาทำงานแล้วไม่มาทำงานหัวหน้างานลงโทษอะไรได้บ้าง?

34.หัวหน้างานชักชวนหญิงผู้ใต้บังคับบัญชา ออกไปทานอาหารหลังเวลาเลิกงาน ในเวลาค่ำคืน และได้กำชับว่าถ้าไม่ไปจะไม่เสนอให้ผ่านการทดลองงานจากพฤติกรรมดังกล่าวจะมีความผิดหรือไม่? เพราะอะไร

35.ชอบโต้เถียง -ใช้วาจาหยาบคาย - ด่าทอ –มีกิริยาดูแคลนหัวหน้างานบ่อยๆ จะลงโทษหรือเลิกจ้างต้องมีข้อมูล-หลักฐานอะไรบ้าง?

36. เลิกงานแล้ว ดักรอหัวหน้างานที่หน้าโรงงาน และได้ทำร้ายร่างกายหัวหน้างานจนได้รับบาดเจ็บสาเหตุของปัญหามาจากการทำงานทำผิดนอกโรงงาน - นอกเวลาทำงานจะมีความผิดตามข้อบังคับในการทำงานหรือไม่? เพราะอะไร

37. อนุมัติค่าเดินทางวันทำงาน ในกะบ่าย - กะดึก - หรือในการทำงานนอกสถานที่อันเป็นเท็จหัวหน้างานจะมีความผิดอย่างไร?

38. ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ผ่านการทดลองงาน หัวหน้างานต้องแจ้งต่อผู้บริหารภายในไม่เกินกี่วันเพราะจะมีผลต่อการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างให้ถูกกฎหมาย

39. หัวหน้างานอนุมัติการลาไม่ถูกระเบียบบ่อยๆจะมีความผิดอย่างไร?

40. ทำผิดวินัยในการทำงานในลักษณะใดเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานเป็นผู้ลงโทษ

· ถาม - ตอบ - แนะนำ

· ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน “ ฟรี ” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท 26

บุคคลทั่วไป ท่านละ 3,900 บาท

สมาชิก ท่านละ 3,500 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 2,900 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**


ข้อมูลอื่นๆ



บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

34/289 หมู่บ้านไทยสมบูรณ์ 2 หมู่ที่ 2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

www.knctrainingcenter.com

knctrainingcenter@hotmail.com

โทร. : 02-191-2509, 062-315-5283


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 อังคารที่ 10 ก.ย. 2019 09:00 - 16:00 น. โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท 26

ข้อมูลอบรม

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: Knctrainingcenter
  • ชื่อผู้ติดต่อ: กนกวรรณ
  • เบอร์มือถือ: 062 315-5283
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: knctrainingcenter@hotmail.com
  • เว็บไซต์: http://www.knctrainingcenter.com
  • LINE Id: Knctraining