รายละเอียดคอร์สอบรม
หัวข้อการสัมมนา เวลา 09.00-16.00 น.
หลักสูตร "กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ล่าสุด" การปฏิวัติวิธีดำเนินคดีแรงงานและแนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่รู้ไม่ได้
• ประเด็นการสัมมนาที่น่าสนใจ
· ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ทำอย่างไรไม่ได้ได้เปรียบเสียเปรียบ ใช้ได้จริง
· หากสถานประกอบกิจการไม่มีหรือไม่ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อลูกจ้างครบ ทำไมไม่ผิดกฎหมาย มีทางออกอย่างไรบ้าง
· สัญญาจ้าง ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน Code of Conduct ประกาศ คำสั่ง หนังสือเวียน แบบฟอร์มด้าน HR ฯลฯจิปะถะ ทำไมเป็น “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” เขียนไม่ดี พิมพ์ผูกมัดตนเอง จะหาทางออกทันไหมเพราะผ่านมานานแล้ว
· ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานประเด็นใดที่ถูก คสช. ยกเลิก โดยใช้มาตรา 44 และจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อนายจ้างอย่างไร
· จริงหรือที่การยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามคำสั่ง คสช. แล้วพนักงานตรวจแรงงานไม่สามารถทำอะไรหรือเอาผิดนายจ้างได้อีกต่อไป
· แนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานควรทำอย่างไรดี จึงปลอดภัยแม้กฎหมายจะเปลี่ยนแปลงไปอีกก็ตาม
· เกษียณอายุต้องมีการระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ อดีตไม่ต้องระบุเท่ากับไม่มีการเกษียณเกิดขึ้น หากต่อไปไม่ระบุ ทำไมกฎหมายบังคับให้ต้องเกษียณ 60 ปี ทั้งที่ 55 ปีก็น่าจะทำได้
· ชายและหญิงที่เป็นลูกจ้าง กำหนดให้เกษียณต่างกันได้หรือไม่
· ลูกจ้างที่ทำงานต่างลักษณะงาน ต่างตำแหน่งหน้าที่ทำไมกำหนดให้เกษียณต่างกันได้แล้วไม่ผิดกฎหมาย
· เกษียณอายุได้ค่าชดเชยอยู่แล้ว มาแก้กฎหมายแล้วผลลัพธ์เหมือนเดิม เพราะเหตุใด และต่อเกษียณอายุมีแนวปฏิบัติพิสดารซับซ้อนอย่างไรบ้าง นายจ้างได้เปรียบเสียเปรียบเพียงใด
· นายจ้างออกคำสั่งย้ายลูกจ้าง หากลูกจ้าง “ดื้อ” อยากลองของ ไม่ยอมไปง่ายๆ ลูกจ้างได้ค่าชดเชยเสมือนเลิกจ้างหรือไม่ และลากิจตามกฎหมายจะได้ค่าจ้างหรือไม่
· กฎหมายใหม่ให้มีการกำหนดค่าจ้างครอบคลุมลูกจ้างทั้งนักเรียน นิสิต คนพิการ ผู้สูงอายุ เพื่อให้การกำหนดค่าจ้าง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและครอบคลุมลูกจ้างในระบบการจ้างงานทุกประเภท เช่น อัตราค่าจ้างของผู้สูงอายุ ที่ทำงานได้จำกัด ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริง ยกเว้น คนทำงานบ้าน แรงงานนอกระบบ
· วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานที่น่าสนใจและการวางบรรทัดฐานให้กับงาน HRM สถานประกอบการ
· การโยกย้าย การโอนย้ายและการโอนสิทธิ ไม่เหมือนกันอย่างไร เพราะผลลัพธ์ต่างกัน การจ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้างก็ไม่เหมือนกัน ทำได้แค่ไหน
· สวัสดิการที่ให้เป็น “เงิน” ทำไมตีความเป็น “ค่าจ้าง” แล้วจะทำให้ไม่เป็นค่าจ้างได้อย่างไร เท่ากับนายจ้างต้องการให้เป็นสวัสดิการ แต่ศาลฎีกามองเจตนารมณ์นายจ้างว่าเลี่ยงกฎหมายค่าจ้าง ทางออกที่ถูกต้องทำอย่างไร
· เอกสารทุกประเภท ทุกชนิดในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการที่ลูกจ้างต้องทำตามหรือห้ามทำ ทำไมเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหมดเลย แล้วจะส่งผลเสียต่อนายจ้างที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการเขียน พิมพ์ รับปากไว้แล้วไม่ทำตาม อย่างไร
· 3 การหยุด 6 การลาคืออะไร จะให้มากกว่านี้ผูกพันหรือไม่ ควรทำเป็น “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” หรือ “สิทธิฝ่ายจัดการ”
· . คดีแรงงานห้ามไปศาลฎีกาจริงหรือ แล้วกฎหมายใหม่เกี่ยวกับศาลแรงงานในคดีพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้างจะพลิกโฉมอย่างไร
· ท่านถาม อาจารย์ตอบ
วิทยากร อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม
รอบ | วันอบรม | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
1 | พฤหัสบดีที่ 16 ส.ค. 2018 | 09:00 - 16:00 น. | โรงแรมGrand Sukhumvit สุขุมวิท ซอย 4-6 |