โครงการอบรม การใช้งานและการเขียนโปรแกรม Oracle ด้วย PL/SQL รุ่นที่ 11

รายละเอียด โครงการอบรม การใช้งานและการเขียนโปรแกรม Oracle ด้วย PL/SQL รุ่นที่ 11

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



โครงการอบรม การใช้งานและการเขียนโปรแกรม Oracle ด้วย PL/SQL รุ่นที่ 11

หลักการและเหตุผล

         สําหรับหลักสูตรการอบรมการใช้งานและการเขียนโปรแกรม Oracle ด้วย PL/SQL นี้เป็นหลักสูตรการอบรมการใช้ภาษา PL/SQL ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมของ ORACLE ที่ใช้ในการพัฒนา Application ที่ถูกพัฒนาด้วยเครื่องมือ (Tools) ของ ORACLE เองเช่น Form และ Report ในหลักสูตรกล่าวถึงโครงสร้างทางภาษาของภาษา PL/SQL การสร้างและการนํา Function, Procedure, Trigger ไปใช้เป็นต้น

วัตถุประสงค์

ผู้เข้ารับการอบรม จะได้เรียนรู้ภาษา PL/SQL (Procedural Language) ซึ่งเป็นภาษาหลักสําหรับพัฒนา แอพพลิเคชั่นบนฐานข้อมูลของ oracle โดยภาษา PL/SQL นี้ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับภาษา SQL ทําให้ สามารถเพิ่มการเขียน เงื่อนไข, การวน loop, เชื่อมโยงตรรกะ, และ การดักจับ Exception ดังนั้น ภาษา PL/SQL จึงทํางานได้เหมือนภาษา programming อื่นๆ เช่น ภาษา C ผนวกกับความสามารถ SQL statement ของ oracle ไปพร้อมกัน

ผู้เข้ารับการอบรม จะได้เรียนร้การสร้าง Procedure, Function, Package และ Trigger ซึ่งเป็น database object ที่สามารถถูก compile ฝังไว้ภายในฐานข้อมูล ให้ภาษา programming หรือ Tool การเขียนแอพพลิเคชั่น อื่นๆ สามารถเรียกใช้งานได้จึงทําให้สามารถเขียนโปรแกรมแบ่งเป็นโมดูล และ ทํางานแบบอัตโนมัติได้

ผู้เข้ารับการอบรม จะได้เรียนรู้ถึงวิธีการดักจับความผิดพลาดของระบบ โดยการใช้ PL/SQL เพื่อการ สร้างเสถียรภาพให้กับระบบได้

หัวข้อการฝีกอบรม

Introduction with PL/SQL - ความหมายของ PL/SQL หลักการทํางานของ PL/SQL และ ภาษา SQLประโยชน์ของภาษา PL/SQL ส่วนประกอบของ PL/SQL Block การ execute PL/SQL การแสดงผลลัพธ์การเขียน comment อธิบายตรรกะ ข้อแนะนําในการเขียน PL/SQL

span ตัวแปร และ Data Type - ความหมาย และ ประโยชน์ของตัวแปรการประกาศตัวแปรการเก็บค่าเข้าตัวแปรโดยตรงการนําผลลัพธ์ จาก SQL Query เก็บเข้าตัวแปรการเก็บสัญลักษณ์ Apostrophe ประเภทตัวแปร และ Data Type ชนิดต่างๆการใช้งาน Scalar Data Typeการใช้ %TYPE ในการประกาศ Data Typeการใช้ตัวแปร ชนิด HOST Variable หรือ BIND Variableการใช้ตัวแปรชนิด Substitution Variable รับค่า input จากผู้ใช้งานการ Define ตัวแปรล่วงหน้าใน Buffer

Nested Block & Built-in SQL Function และการเขียน SQL ฝังใน PL/SQL

การใช้งานคําสั่งในการตัดสินใจ (DECISION STATEMENT : IF /SWITCH CASE)

การใช้งานคําสั่งวนรอบ (LOOP STATEMENT)

การใช้ Data Type ชนิด Record- ความแตกต่างระหว่าง Scalar กับ Composite Data Type - PL/SQL Record Data Type - การประกาศตัวแปรแบบ Record- โครงสร้างแบบ Record และการเข้าถึงข้อมูลแบบ Record - การใช้ %ROWTYPE ช่วยประกาศ Record - การใช้ SELECT ใส่ข้อมูลเข้า Record ภายในครั้งเดียว - การใช้ UPDATE กับ Record

การใช้ Cursor - ความหมายของ Cursor - ประโยชน์ของ Explicit Cursor - ขั้นตอนการใช้งาน Cursor - การใช้ Attribute กับ Cursor - การใช้งาน Cursor ร่วมกับ Basic Loop - การใช้งาน Cursor ร่วมกับ Record - การใช้งาน Cursor ร่วมกับ FOR Loop - การใช้งาน Cursor ร่วมกับ WHILE Loop - การใช้ประโยชน์ %ROWCOUNT กับ %NOTFOUND - การใช้ SELECT FOR UPDATE - การใช้ WHERE CURRENT OF

การดักจับ Error ด้วย Exception - ความหมาย และ ประโยชน์ของ Exception - การเขียน Exception ใน PL/SQL Block - ชนิดของ Exception - การใช้ Exception แบบ Predefined Oracle Server Error - การใช้ Exception แบบ Non-Predefined Oracle Server Error - การใช้ SQLCODE และ SQLERRM function - การใช้ Exception แบบ Use-Predefined - กฎการแพร่ Exception แบบลําดับชั้น

การเขียน Procedure - ความหมายของ Procedure - ความสัมพันธ์ระหว่าง Procedure กับ parameter - โหมดในการส่งค่า parameter - การใช้ Data Type ภายใน Procedure - สารพัดวิธีเรียกใช้งาน Procedure - วิธี Debug Procedure การเขียน Procedure แบบ IN - การเขียน Procedure แบบ OUT - การเขียน Procedure แบบ IN OUT - วิธีส่งค่าเข้า Procedure ในรูปแบบต่างๆ - Exception ภายใน Procedure - การดู information ของ Procedure ด้วย Data Dictionary - การลบ Procedure

การเขียน Function - ความหมายของ Function - สารพัดวิธีการเรียกใช้งาน Function - การเรียกใช้ Function ที่เขียนขึ้นเอง กับ SQL Statement - ข้อจํากัดในการใช้ Function ที่เขียนขึ้นเอง กับ SQL Statement - คําแนะนําในการใช้ Function - การดู information ของ Function ด้วย Data Dictionary - การลบ Procedure

การเขียน Package - ความหมายของ Package - ส่วนประกอบของ Package - การเขียน Package Specification - การเขียน Package Body - การดู information ของ Package ด้วย Data Dictionary - การ Compile Package - การลบ Package - คําแนะนําการเขียนPackage

การเขียน Trigger - ความหมายของ Trigger - ชนิดของ DML Trigger - การตั้งเวลา Trigger - การตั้งเหตุการณ์ให้ Trigger - การควบคุมเงื่อนไขของ Trigger- การใช้ :OLD และ :NEW Qualifier - การตั้งเงื่อนไข WHEN - การ Enable/Disable Trigger รายตัว - การ Enable/Disable Trigger ทุกตัวที่สัมพันธ์กับตาราง - การ Recompiled Trigger - การดู information ของ Trigger ด้วย Data Dictionary - การลบ Trigger

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

มีความรู้ในส่วนของการใช้งานระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น

มีความรู้ในการใช้คําสั่ง SQL Statement เบื้องต้น

รูปแบบการอบรม

บรรยาย+ฝึกปฎิบัติ

วันที่รับสมัคร

01/01/2563 - 25/10/2563

ข้อมูลวันที่อบรม

ลำดับ วันที่อบรม                             สถานที่อบรม                   เวลาอบรมบรรยาย เวลาอบรมปฏิบัติ

1.     02/11/2563 - 04/11/2563   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร                  18 ชม. 18 ชม.

ค่าใช้จ่าย

6,500.00 บาท

โปรโมชั่น

1.ชำระค่าลงทะเบียนก่อนการอบรม 3 สัปดาห์ ลด 5%

2.ศิษย์เก่า นักศึกษาและบุคลากร รับส่วนลด 10%

3.สมัครอบรม 4 ท่าน ฟรี 1 ท่าน



ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 จันทร์ที่ 2 พ.ย. 2020 - พุธที่ 4 พ.ย. 2020 09:00 - 16:00 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2010-0066
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 431
  • หมวดหมู่: หัวข้ออบรมอื่นๆ
  • คำค้นหา: -

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ชื่อผู้ติดต่อ: สำนักฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • เบอร์มือถือ: 092 246-4638
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: training.mut@gmail.com
  • เว็บไซต์: http://www.training.mut.ac.th/trainingOpenRegister/gotoTrainingOpenDetails?openID=0014&trainingID=14
  • LINE Id: @muttraining