โครงการอบรม การเขียนแบบลายทองแดงทางไฟฟ้าสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม รุ่นที่ 1

รายละเอียด โครงการอบรม การเขียนแบบลายทองแดงทางไฟฟ้าสำหรับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม รุ่นที่ 1

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



หลักการและเหตุผล

     การเขียนแบบลายทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์(Printed Circuit Board ; PCB) สำหรับกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักร ผู้เขียนแบบลายทองแดงต้องคำนึงถึงมาตรฐานการออกแบบตามสมาคม Interconnecting and Packaging Electronic Circuits ; IPC ที่ได้กำหนดกรอบมาตรฐานไว้เพื่อให้กระบวนการประกอบอุปกรณ์และการบัดกรีที่ใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมทำงานได้สมบูรณ์ไม่มีอุปสรรคในระหว่างกระบวนการผลิต เช่นการจัดวางทิศทางของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับกระบวนการบัดกรี และคำนึงถึงระยะห่างระหว่างอุปกรณ์(Space) เพื่อรองรับการประกอบอุปกรณ์ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์โดยใช้เครื่องจักร(Automatic Insertion Machine), รู้จัก Fiducial แบบต่างๆสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต, รู้จัก Breakaway tab สำหรับแผ่นวงจรพิมพ์จำนวนมากบน Panel เดียวกัน ซึ่งผู้เขียนแบบลายทองแดงจะต้องเพิ่มรายละเอียดทั้งหมดลงบนแผ่นวงจรพิมพ์และตรวจสอบกับมาตรฐาน IPC ก่อนกระบวนการประกอบอุปกรณ์ เพราะมีความสำคัญต่อการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ หากไม่รู้จักมาตรฐานและสร้างเครื่องหมายต่างๆไว้ในแผ่นวงจรพิมพ์อาจเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ เพราะต้องย้อนกลับมาแก้ไขที่กระบวนการเขียนลายทองแดงอีกครั้ง

วัตถุประสงค์

ผู้เข้าอบรมรู้จักกับ IPC ที่ใช้กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ , รู้จักการวางอุปกรณ์ตามมาตรฐาน IPC กับการสร้าง thief pad สำหรับการบัดกรีโดยวิธี wave soldering , รู้จักชนิดของ Fiducial กับการสร้าง Fiducial บนแผ่นวงจรพิมพ์ , รู้จัก Breakaway tab กับการสร้าง Mouse bites หรือ Stamp hole ของแผ่นวงจรพิมพ์

หัวข้อการฝีกอบรม

อธิบายข้อแตกต่างระหว่างการเขียนแบบลายทองแดงทั่วไปกับการเขียนแบบ

กระบวนการประกอบอุปกรณ์ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์โดยใช้เครื่องจักร

แนะนำมาตรฐาน IPC

ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์และทิศทางของอุปกรณ์กับ thief pad

การกำหนดขอบเขตของแผ่นวงจรพิมพ์กับตำแหน่ง Tooling hole

แนะนำรูปแบบกับขนาดและวิธีการสร้าง fiducial

แนะนำลักษณะของ breakaway tab กับลักษณะของ Mouse bite

ตัวอย่างของ fiducial

thief pad

breakaway

mouse bite ที่สร้างจาก EasyEDA

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนแบบลายทองแดง

สามารถเขียนแบบลายทองแดงของวงจรขนาดเล็กได้

รูปแบบการอบรม

บรรยายร่วมการสาธิต

วันที่รับสมัคร

01/12/2563 - 26/03/2564

ข้อมูลวันที่อบรม

ลำดับ วันที่อบรม สถานที่อบรม เวลาอบรมบรรยาย เวลาอบรมปฏิบัติ

1. 23/04/2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 6 ชม. 6 ชม.

ค่าใช้จ่าย

4,500.00 บาท

โปรโมชั่น

1.สมัครอบรม 3 ท่าน ฟรี 1 ท่าน

2.ชำระค่าลงทะเบียนก่อนการอบรม 3 สัปดาห์ ลด 5%

3.ศิษย์เก่า นักศึกษาและบุคลากร รับส่วนลด 10%



ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 ศุกร์ที่ 23 เม.ย. 2021 09:00 - 16:00 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2103-0092
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 647
  • หมวดหมู่: บริหารการผลิต อุตสาหกรรม
  • คำค้นหา: อบรม

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ชื่อผู้ติดต่อ: สำนักฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  • เบอร์มือถือ: 092 246-4638
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: training.mut@gmail.com
  • เว็บไซต์: http://www.training.mut.ac.th
  • LINE Id: @muttraining