รายละเอียดคอร์สอบรม
“งบการเงิน” เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้บริหารไม่ว่าอยู่ในสายงานใด ก็ควรต้องใส่ใจและอ่านให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะทุกๆ รายการในงบการเงินจะแสดงถึงสถานะของผลการดำเนินงาน รายรับรายจ่าย กำไรขาดทุน รายการสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของทุน เนื่องจากงบการเงินเป็นรายงานทางบัญชีที่ต้องมีการจัดทำตามมาตรฐานการบัญชีเป็นประจำรายเดือน และปิดบัญชีทุกปี
ในการอ่านและวิเคราะห์ “งบการเงิน” สำหรับผู้บริหาร ไม่ใช่เพียงการอ่านรายการบัญชีแต่ละรายการให้เข้าใจเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถวิเคราะห์ตีความ การชี้บ่งสถานะของแต่ละรายการได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการอ่านและวิเคราะห์งบการเงินได้อย่างถูกต้อง ย่อมสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตัดสินใจดำเนินการกับภาวะวิกฤติหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการขององค์กรย่อมดีขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความหมายและความสำคัญของรายการบัญชีแต่ละรายการ
2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ ตีความ และชี้บ่งสถานะทางการเงิน
3. เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมในการบริหารจัดการกับภาวะวิกฤติความเสี่ยง และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
1. ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายผลิต, ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
2. ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ, ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต, ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง
3. หัวหน้างาน, ซุปเปอร์ไวเซอร์ของทุกๆ สายงานที่ควรเข้าใจเรื่องการบัญชี
หัวข้อการสัมมนา
บทที่ 1: หลักการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
· หลักการพื้นฐานของการบัญชี
· งบการเงินคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
· งบดุล งบกำไรขาดทุนมีรายการอะไรบ้าง
บทที่ 2: หัวใจของงบการเงินคืออะไร
· หัวใจในการอ่านงบดุล คืออะไร กับความหมายที่แท้จริง
· หัวใจในการอ่านงบกำไรขาดทุน คืออะไร กับความหมายที่แท้จริง
บทที่ 3: เทคนิคการอ่านและวิเคราะห์งบดุล ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
· วิธีการอ่านและวิเคราะห์สินทรัพย์ในงบดุล
· รายการเงินสดและเงินฝากธนาคาร บ่งบอกอะไร
· รายการสินค้าคงเหลือ ครอบคลุมวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป ตัวเลขของแต่ละรายการบอกอะไร เหมาะสมหรือไม่ ควรจะปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างไร
· รายการการสินทรัพย์ถาวร ประกอบด้วยอะไร วิธีการจัดทำทะเบียนบัญชีทรัพย์สิน หลักการคิดค่าเสื่อมราคาแต่ละประเภทเป็นอย่างไร การตรวจสอบรายการทรัพย์สิน อายุการใช้งานคงเหลือ การตัดบัญชีรายการทรัพย์สินเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพไม่พร้อมใช้งาน หรือสูญหาย การพิจารณาจัดซื้อจัดหาเพิ่มเติมหรือทดแทน
· รายการหนี้สินและส่วนของทุน ทั้งกำไรหรือขาดทุนสะสม
บทที่ 4: เทคนิคการอ่านและวิเคราะห์งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกำไรขาดทุน
· อะไรคือรายรับ/รายได้ หลักเกณฑ์การรับรู้รายรับ/รายได้
· ข้อแตกต่างของรายรับหลัก และรายรับอื่น
· รายจ่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง เมื่อไรจะบันทึกบัญชีเป็นรายจ่าย
· หลักการคิดต้นทุนการผลิต
· ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีอะไรบ้าง มีหลักกฎหมายกำหนดอย่างไร
บทที่ 5: เทคนิคการบริหารจัดการเมื่ออ่านและวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน งบดุล
· ต้องทำอะไร เมื่อผลการดำเนินการมีกำไร
· หากผลการดำเนินการติดลบ ผู้บริหารต้องทำอย่างไร
· ทำอย่างไรให้มีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
· วิธีการลดต้นทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
· วิธีการควบคุมสินค้าคงเหลือ จำนวนที่ควรเก็บสต๊อค วิธีการตรวจนับสต๊อค
· วิธีการลดต้นทุนของเสียในการผลิต ของเสียจากการเคลมของลูกค้า
· วิธีการควบคุมดูแลการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ซื้อมากเกินไป
· วิธีการจัดการกระแสเงินสด Cash Flow เงินไหลเข้า-เงินไหลออก เพื่อเงินไม่ขาดมือ
· เทคนิคการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้
· มองย้อนมาดูสวัสดิการ และสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากรในองค์กรอย่างไร
· โครงการลงทุนในอนาคต เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพขององค์กร
ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 3 ชั่วโมง เวลา 13.00 - 16.00 น.
รูปแบบการอบรม (Methodology)
1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนา และตอบข้อซักถาม
2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน
อาจารย์กุหลาบ เจียมจิตรพานิช
กำหนดการ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565
สถานที่ Zoom Online Meeting
ราคา 1,500 บาท
• ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
• นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
ข้อมูลอื่นๆ
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
www.knctrainingcenter.com
knctrainingcenter@hotmail.com
โทร. : 02-157-9083, 062-315-5283
ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม
รอบ | วันอบรม | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
1 | ศุกร์ที่ 29 เม.ย. 2022 | 13:00 - 16:00 น. | Online |