เจาะประเด็น….การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย

รายละเอียด เจาะประเด็น….การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



หลักการและเหตุผล

ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน เนื่องจากมีอุตสาหกรรมบางประเภทคนไทยไม่ทำ ดังนั้นเพื่อเป็นการผลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าได้ นายจ้างจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสรรค์หาบุคลากร จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานโดยขั้นตอนของกฎหมายก็จะมีหลักให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามในกรณีนายจ้างฝ่าฝืนรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยไม่ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายได้กำหนด นายจ้าง – ลูกจ้าง ก็จะมีความผิดได้รับโทษตามที่ได้บัญญัติไว้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และความสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ให้กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมาย หรือกรณีมีลูกจ้างมาสมัครงานเองก็จะสามารถเข้าตรวจสอบเอกสาร หรือนำแรงงานไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้

2. เพื่อให้ทราบถึงการดำรงรักษาแรงงานที่ดี ให้อยู่กับองค์กรได้อย่างถูกกฎหมายได้นานๆ หรือนำกฎหมายแรงงานไปใช้บังคับกับพนักงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

3. เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในองค์กรและนอกองค์กรให้ปัญหานั้นยุติลงได้

ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - หัวหน้างาน

หัวข้อในการอบรม

1. ปัญหาที่ทำให้นายจ้างต้องจ้างแรงงานต่างด้าวมาจากอะไร..?

• มีคำอธิบายจากบัญหาที่เกิด 9 ประการ

2. การเตรียมเอกสาร- ข้อมูลสถานประกอบกิจการของนายจ้าง เพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องเตรียมอะไรบ้าง..?

• กรณีเป็นนิติบุคคล เอกสารของนายจ้าง- ของผู้รับมอบอำนาจ- ข้อมูลขององค์กร

3. การนำแรงงานต่างด้าว ที่ผ่านระบบ MOU. เข้ามาทำงานโดยนายจ้างนำเข้ามาเอง หรือ นำเข้าผ่านบริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ มีขั้นตอนของการนำเข้าอย่างไร..?

• มีขั้นตอนและรายระเอียดของการนำเข้า เช่น การติดต่อจัดหางานเขตพื้นที่ – การติดต่อบริษัทนำเข้า- การทำสัญญาจ้าง – การจ่ายค่าจ้าง – ขั้นตอนการนำเข้า – การติดต่อไปยังประเทศต้นทาง – เงื่อนไขการจ้าง - การกำหนดค่าจ้าง – ค่าสวัสดิการ - การอบรมที่ศูนย์รับแรกเข้า – การออกวีซ่า – การออกใบอนุญาตทำงาน – การจัดที่พักให้ - การตรวจร่างกาย – การแจ้งนำเข้า - การรายงานตัว - การต่อสัญญาจ้าง

4. การจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานในองค์กรจ้างให้ถูกกฎหมายต้องดำเนินการอย่างไร.?

• มีขั้นตอนและรายระเอียดของการตรวจสอบเพื่อการนำเข้า เช่น การตรวจสอบเอกสาร – บัตรประจำตัว – วีซ่า - หนังสือใบอนุญาตทำงาน –การแจ้งออก – เหตุผลที่เปลี่ยนงาน - การทำสัญญาจ้าง - การกำหนดค่าจ้าง – กำหนดค่าสวัสดีการ – การแจ้งเข้าเพื่อเปลี่ยนชื่อนายจ้าง – ค่าใช้จ่ายต่างๆ – การตรวจร่างกาย – การรายงานตัว - การต่อสัญญาจ้าง

5. บทลงโทษ - นายจ้าง - ลูกจ้าง - บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว กรณีทำผิดกฎหมาย พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร.?

• นายจ้าง ไม่แจ้งเข้า - ไม่แจ้งออก - ไม่ทำทะเบียนให้ตรวจ – ให้ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต - ให้ทำงานไม่ตรงตามใบอนุญาตให้ทำงานใบอนุญาตเป็นชื่อของผู้อื่น

• ลูกจ้าง ไม่เคยมีใบอนุญาตทำงาน – ขณะทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตน - ทำงานไม่ตรงใบอนุญาต

• บริษัทนำเข้า นำแรงงานต่างด้าวเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต - ไม่ส่งมอบงานต่อผู้ว่าจ้าง - ไม่ส่งต่างด้าวกลับประเทศต้นทาง

6. ผู้ที่หลอกลวง- แอบอ้าง ผู้อื่นว่าสามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างในประเทศได้หรือหาแรงงานต่างด้าวให้กับนายจ้างได้จะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร..?

7. ผู้ที่สนับสนุนการทำผิดกรณีหลอกลวง - แอบอ้างการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างจะมีความผิดได้รับโทษ ทางแพ่ง ทางอาญา อย่างไร..?

8. ค่าใช้จ่าย ในการจ้างบริษัทนำเข้า - จ่ายให้หน่วยงานภาครัฐของการนำเข้าระบบ MOU. และระบบพิสูจน์สัญชาติ

9. จ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านบริษัทรับเหมา Outsource โดยมาจากระบบ MOU. หรือผ่านระบบพิสูจน์สัญชาตินายจ้างทำได้หรือไม่..?

10. ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำแรงงาน ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา มีอัตราและแตกต่างกันอย่างไร..?

11. ต่างด้าว 3 สัญชาติที่ผ่านระบบ MOU และผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีสิทธิ์ทำงานประเภทอะไรบ้าง.?

12. ต่างด้าว 3 สัญชาติ ขณะทำงานในราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงาน ตาม พ.ร.ก. อย่างไร..?

13. ต่างด้าวที่ผ่านระบบ MOU ต้องการเปลี่ยนนายจ้างใหม่ จะต้องมีองค์ประกอบตามกฎหมายอย่างไร..?

14. หน้าที่ของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างต่างด้าว ขณะปฏิบัติงานและอยู่ในเวลาสัญญาจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร.?

15. การนำแรงงานต่างด้าว ระดับฝีมือชำนาญการ เข้ามาทำงานกับนายจ้างอย่างถูกกฎหมายต้องดำเนินการอย่างไร.?

16. บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมีความมั่นคง และมีบทบาทหน้าที่ต่อผู้ว่าจ้างอย่างไร..?

17. แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่เข้ามาทำงานกับนายจ้าง (ในภาพรวม) แรงงานชาติใด..? ทำงานถูกใจนายจ้างมากที่สุด

18. แรงงานไทย กับแรงงานต่างด้าวปฏิบัติงานหรือปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไร..?

19. กรณีต่างด้าวไปทำงานนอกพื้นที่ –ไปทำงานตามสาขา –ไปตามไซด์งานที่เป็นธุรกิจของนายจ้างทำได้หรือไม่ และเมื่อพบหน่อยงานภาครัฐเข้าตรวจสอบ ต้องดำเนินงานอย่างไร..?

20. การจ้างแรงงานต่างด้าวขณะปฏิบัติงาน ปัญหาที่พบมากที่สุด มีอะไร..?

21. นายจ้างจัดที่พักให้ต่างด้าว กรณีต่างด้าวแอบเอาญาติหรือผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองมาพักอยู่ด้วย นายจ้าง - ต่างด้าว - ผู้อาศัย - จะมีความผิดอย่างไร..?

22. จ้างแรงงานต่างด้าวให้ - ค่าจ้าง - สวัสดิการ แตกต่างไปจากแรงงานไทยต้องปฏิบัติอย่างไร..?

23. แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวชกต่อยกัน (เป็นกรณีร้ายแรง) นายจ้างเลิกจ้างคนเดียวทำได้หรือไม่. เพราะอะไร..?

24. นายจ้างนำหน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจฉี่พนักงานเพื่อหาสารเสพติดพบลูกจ้างต่างด้าวมีสารเสพติดในร่างกาย ต้องจัดการ อย่างไร..?

25. ต่างด้าวชุมนุมในเวลางาน เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายโบนัสประจำปี- ผู้บริหาร- หัวหน้างาน จะใช้เทคนิคอย่างไร..? ให้ปัญหายุติลง

26. การออกหนังสือเตือนการทำผิด – หนังสือเลิกจ้าง ให้พี่ไทยหรือต่างด้าวเขียนให้ดี ให้มีผลต่อการผิดซ้ำคำเตือน ให้มีผลต่อการถูกเลิกจ้างและยกขึ้นต่อสู้คดีในชั้นศาลได้

27. ลูกจ้างไทย – ต่างด้าว ทำผิดวินัยในการทำงานไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน ผู้บริหาร- หัวหน้างาน ต้องดำเนินการอย่างไร..?

28. ในวันหยุดนายจ้างหรือหัวหน้างานให้ต่างด้าวไปทำงานที่บ้านตนเองเพื่อต่อเติมบ้านพักโดยจ่ายค่าจ้างให้ทำได้หรือไม่เพราะอะไร..?

29. การแต่งตั้งแรงงานต่างด้าวเพื่อการสื่อสาร หรือเพื่อให้แก้ปัญหาต่างๆ ให้กับองค์กร

30. กรณีต่างด้าวลางานกลับภูมิลำเนาหลายวันหรือไปเยี่ยมญาตินอกพื้นที่ทำงานต้องแจ้ง ตม.หรือดำเนินการอย่างไร..?

31. การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมและสิทธิต่างๆ ที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ต่างด้าวมีสิทธิอะไรบ้าง..?

32. การกระทำอันไม่เป็นธรรมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว มีลักษณะของการกระทำอย่างไร..?

33. การสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของแรงงานต่างด้าวมีกรณีใดบ้าง และนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร..?

34. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่ที่ประกาศใช้ ปี2562 ที่เพิ่มสิทธิ - สวัสดิการ- ให้กับลูกจ้างทั่วประเทศมีอะไรบ้าง..?

35. นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างต่างด้าวที่ขัดต่อกฎหมาย (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?

36. สวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เมื่อลูกจ้างออกจากงาน มักจะเอาไปรวมกับค่าจ้าง เพื่อเป็นฐานของค่าจ้าง- ต่อวัน- ต่อเดือน- มีสวัสดิการอะไรบ้าง..?

37. ในกรณีลูกจ้างไทยฟ้องนายจ้าง - แรงงานต่างด้าวฟ้องนายจ้าง - นายจ้างฟ้องลูกจ้าง (กรณีละเมิด) คดีเกิดขึ้นในศาลแรงงาน ผู้บริหารต้องบริหารจัดการและ ต้องเตรียมหมัดเด็ดอย่างไร..? ถึงจะทำให้ชนะคดี

38. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดีแรงงาน ที่ผู้บริหาร – หัวหน้างานควรรู้ มีคดีอะไรบ้าง..?

• ถาม - ตอบ - แนะนำ

• ให้คำแนะนำ - ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนาหลังการสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า


โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26

บุคคลทั่วไป ท่านละ 3,900 บาท

สมาชิก ท่านละ 3,500 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 2,900 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**


ข้อมูลอื่นๆ



บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

34/289 หมู่บ้านไทยสมบูรณ์ 2 หมู่ที่ 2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

www.knctrainingcenter.com

knctrainingcenter@hotmail.com

โทร. : 02-191-2509, 062-315-5283


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 ศุกร์ที่ 5 ก.ค. 2019 09:00 - 16:00 น. โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-1906-0072
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบุคคลทั่วไป
  • จำนวนผู้เข้าชม: 430
  • หมวดหมู่: งานบุคคล HR การทำงาน
  • คำค้นหา: -

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: Knctrainingcenter
  • ชื่อผู้ติดต่อ: กนกวรรณ
  • เบอร์มือถือ: 062 315-5283
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: knctrainingcenter@hotmail.com
  • เว็บไซต์: http://www.knctrainingcenter.com
  • LINE Id: Knctraining