รายละเอียดคอร์สอบรม
เรามักคิดกันว่าการจ่ายภาษีต่างๆ ถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งของกิจการ จึงพยายามหาวิธีเลี่ยง หรือบริหารจัดการเพื่อวางแผนจ่ายภาษีได้ในอัตราที่น้อยที่สุด ซึ่งเป้าหมายของการจ่ายภาษีที่ดีควรจะจ่ายในอัตราที่น้อยแต่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรม ดังนั้นการวางแผนบริหารจัดการภาษีจึงมีความสำคัญต่อกิจการ จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้การจ่ายภาษีสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น แทนที่จะมีกำไรจากการขายตามที่คาดหวัง อาจจะทำให้ขาดทุนโดยไม่รู้ตัว
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ภาษีเงินได้
กรณีบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคล อัตราภาษี 1% โดยคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ (ราคาประเมินราชการ) สำหรับบุคคลธรรมดา เมื่อบุคคลธรรมดาขายที่ดินภาษีจะสูงมาก โดยอัตราภาษี+ค่าใช้จ่ายเมื่อโอนที่ดินจะสูงถึง 5-35% (ตามมติ ครม. แก้ไขเรื่องฐานภาษี 18 ตุลาคม 2559) ให้ใช้ฐานภาษี “ราคาซื้อขาย” หรือ “ราคาประเมิน” แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
คิดอัตราภาษี 3.3% ของราคาซื้อขาย กรณีบุคคลธรรมดาหากถือครองเกิน 5 ปี ได้รับยกเว้น และหากถือครองในนาม “นิติบุคคล” “คณะบุคคล” หรือ ประกอบกิจการ ไม่ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
อากรแสตมป์
คิดอัตราภาษี 0.5% เท่ากันทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยคิดจากราคาซื้อขาย (ได้รับยกเว้น หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
ค่าธรรมเนียมการโอน
อัตราภาษี 2% เท่ากันทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล คิดจากจากราคาประเมินฯ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ซื้อ) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้เป็นใครก็จะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้
(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ขาย) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
(3) อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายร้อยละ 1 ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ที่มา: กรมสรรพากร www.rd.go.th
ขายที่ดิน เสียภาษีบุคคลธรรมดา อย่างไร ?
วิธีการคำนวณภาษี ซื้อ/ขายอสังหาริมทรัพย์
http://rdsrv2.rd.go.th/landwht/formcal1.asp กรณีที่ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย โดยการคำนวณเงินได้พึงประเมินที่จะต้องคำนวณภาษี จากราคาประเมินและจำนวนปีที่ถือครอง (จำนวนปีที่ถือครองนับตามปีบัญชี หนึ่งปีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคมของปีเดียวกัน การซื้อขายภายในปีเดียวกันนับเป็นการถือครอง 1 ปี ตัวอย่าง เช่น ถือคลอง ธันวาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562 นับเป็นถือครอง 2 ปี)
สูตรในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงินได้ที่จะต้องเสียภาษี =(ราคาขาย – ค่าใช้จ่าย) / จำนวนปีที่ถือครอง
ค่าใช้จ่าย ก่อนอื่นเราจะต้องระบุให้ได้ว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เราจะขายนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการซื้อ หรือได้มาจากมรดกหรือเสน่หา เพราะแหล่งที่มาของทรัพย์จะสามารถหัก ค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน โดยค่าใช้จ่ายจะเท่ากับราคาขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อะไรจะสูงกว่า*อัตราค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย
ข้อพึงระวัง !! ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการลงโทษผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอของ Financial Action Task Force (FATF) โดยมีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จ เป็นการกระทำความผิดร้ายแรง และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2560 (http://www.rd.go.th)
Tag : ขายที่ดินสียภาษีบุคคลธรรมดา ,นิติบุคคลขายที่ดิน ต้องเสียภาษี , ภาษีธุรกิจเฉพาะ คำนวณภาษี, ซื้อ/ขายอสังหาริมทรัพย์ ,วางแผนภาษี ,ภาษีที่ดิน ,ค่าธรรมเนียมการโอน
ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม
รอบ | วันอบรม | เวลา | สถานที่ |
---|---|---|---|
1 | พุธที่ 14 ส.ค. 2019 - พฤหัสบดีที่ 15 ส.ค. 2019 | 08:30 - 17:00 น. | ณ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย |