การบริหารงานบุคคล กรณีสอบสวนความผิด กำหนดลงโทษทางวินัย หรือเลิกจ้าง

รายละเอียด การบริหารงานบุคคล กรณีสอบสวนความผิด กำหนดลงโทษทางวินัย หรือเลิกจ้าง

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



    วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงการออกระเบียนปฏิบัติ เพื่อมิให้พนักงานปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายแรงงาน

2. เพื่อให้ผู้บริหาร-หัวหน้างาน-HR. ทราบเทคนิคการไกล่เกลี่ยปัญหา-การระงับข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นในองค์กร-การพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับฯกรณีใดลงโทษเป็นหนังสือเตือนหรือเลิกจ้างได้

3. เพื่อทราบถึงการออกหนังสือเตือน-การออกหนังสือเลิกจ้างเขียนได้ดี ให้ครอบคลุมความผิดเพื่อให้มีผลในการต่อสู้คดีในศาล กรณีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานต้องเขียนอย่างไร..

 หัวข้อการสัมมนา

                หมวด 1: การออกระเบียบปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงาน

1. ประเภท มาทำงานสายบ่อยๆทุกอาทิตย์-ทุกเดือน หัวหน้างานตักเตือนแล้วไม่สนใจ-ไม่ปรับตัวให้ดีขึ้นจนกลายเป็นที่หนึ่งของแผนกและมีเพื่อนร่วมงานตั้งฉายาให้ นายจ้างต้องจัดการอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การเขียนระเบียบปฏิบัติการมาปฏิบัติงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

2. ลางานไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ เช่น โทรลางาน-ไลน์ลางาน-ฝากเพื่อนลางานให้-ชอบลาย้อนหลังหรือยังไม่อนุมัติการลางานก็หยุดงานไป -หัวหน้างานปกครองไม่ได้จะต้องออกกฎเหล็กอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การเขียนระเบียบปฏิบัติการลางาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

3. หัวหน้างานกำหนดลงโทษทางวินัย เป็นหนังสือเตือน เพื่อให้การเตือนมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแรงงานหรือการกำหนดความผิดลงในการเตือนต้องมีข้อความอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การออกหนังสือเตือนการทำผิดวินัย แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

4. ลางาน-หยุดงานมากหรือมีปัญหาเรื่องสุขภาพ อยากเลิกจ้างก่อนเกษียณงาน ตามข้อบังคับในการทำงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องทำอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้างพนักงานกรณีนี้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

5. ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โควิด-19 ระบาด อยากเลิกจ้างพนักงาน เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังได้ นายจ้างต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การออกหนังสือเลิกจ้างกรณีนี้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมา

6. กรณี ลูกจ้างลาออก จู่ๆ ก็ฟ้องศาลแรงงาน ซึ่งบรรยายฟ้องว่า ถูกบีบบังคับให้ลาออก นายจ้างต้องทำอย่างไร...แนวทางการแก้ปัญหาระยะยาว นายจ้างต้องกำหนดข้อห้ามไว้ในหนังสือลาออกอย่างไร..?

• มีตัวอย่าง การออกหนังสือลาออกจากการเป็นลูกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

หมวด 2 : การพิจารณาความผิด เพื่อกำหนดลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้าง

7. นายจ้างบอกเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออกจากงาน ด้วยวาจา-ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิคส์-ทางอีเมล์ ทางไลน์-ทางโทรศัพท์ จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..?

• ยกตัวอย่าง การออกจากงานในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

8. กรณีลูกจ้าง ทำผิดวินัยร้ายแรงแล้วออกจากงานไป นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง-ไม่จ่ายเงินประกันการทำงานให้ ทำได้ไหม...เพราะอะไร..?

• ยกตัวอย่าง การออกจากงานที่มีความผิดในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

9. ความผิดที่ผู้บริหาร-หัวหน้างานเป็นผู้ลงโทษพนักงานเป็นความผิดลักษณะใด..?

• ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงาน พร้อมคำอธิบาย

10. ความผิดที่ผู้บริหารงานบุคคล ( HR. ) เป็นผู้ลงโทษพนักงานเป็นความผิดลักษณะใด...?

• ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตนผิดระเบียบต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

11. ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติความปลอดภัยในการทำงาน ทำไม...มีกรณีเลิกจ้างได้และเลิกจ้างไม่ได้

• ยกตัวอย่าง การทำผิดระเบียบปฏิบัติกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

12. ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติ ดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดแล้วเข้ามาทำงาน ทำไม...มีกรณีเลิกจ้างได้และเลิกจ้าไม่ได้

• ยกตัวอย่าง การทำผิดระเบียบปฏิบัติกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

13. ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานในเวลาทำงาน ทำไม..เลิกจ้างได้และเลิกจ้างไม่ได้..?

• ยกตัวอย่าง การทำผิดวินัยชกต่อยกันในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

14. ความผิดที่พิจารณากำหนดลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือเตือน-หรือพักงานเป็นความผิดลักษณะใด..?

• ยกตัวอย่าง การทำผิดในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

15. มีความผิดเกิดขึ้นและได้ออกหนังสือลงโทษทางวินัย กรณีผู้ถูกลงโทษไม่ยอมรับในหนังสือเตือน-หรือหนังสือสั่งพักงาน นายจ้าง-ผู้บริหาร-ต้องกำเนินการอย่างไร..?

• ยกตัวอย่าง การทำผิดในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

16. เมื่อลูกจ้างลาออก-ถูกปลดออก-ไล่ออก หรือถูกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง-เงินประกันการทำงานให้กับลูกจ้างเมื่อใด...เพราะ จะมีผลต่อการเสียค่าดอกเบี้ย และเสียเงินเพิ่มทุกๆ 7 วัน

• ยกตัวอย่าง การจ่ายค่าจ้าง-เงินประกันการทำงาน พร้อมคำอธิบาย

17. เมื่อลูกจ้างออกจากงานมีสิทธิได้รับ-วันลากิจได้รับค่าจ้าง-วันลาพักผ่อนประจำปี-วันลาพักผ่อนสะสมอย่างไร.?

• ยกตัวอย่าง การออกจากงานในกรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

18. นายจ้าง มีนโยบายแก้ไขข้อบังคับในการทำงาน เพื่อตัด หรือเพิ่มเติมในหมวดต่างๆต้องดำเนินการอย่างไร..?

• ยกตัวอย่าง การแก้ไขในหมวดต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

19. ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานหรือร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่แตกต่างกันอย่างไร..หรือในกรณีสวัสดิการการคุ้มครองแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย นายจ้างไม่ให้-ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย ต้องดำเนินการอย่างไร..?

• ยกตัวอย่าง การสั่งให้จ่ายใน กรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

20. กรณีมีคดีฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับตามฟ้องเป็นความผิดที่ถูกเลิกจ้างลักษณะใด..?

• ยกตัวอย่าง กรณีถูกเลิกจ้างใน กรณีต่างๆ พร้อมคำอธิบาย

หมวด 3 : มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

21. ลูกจ้างไม่ได้นำเงินจากการขายสินค้าเข้าเครื่องระบบ เซตเชียร์ภายในวันนั้นทันทีหลังจากปิดการขาย ตามระเบียบปฏิบัติ จะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

22. อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ออกไปเที่ยวในเวลาค่ำคืน นอกเวลาทำงานหากไม่ไปจะเสนอความเห็นไม่ผ่านการทดลองงาน จะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

23. นำภาพถ่ายรูปเปลือยของหญิงที่ตนร่วมประเวณีอยู่-ที่ตนบันทึกไว้ ออกเผยแพร่ทางสื่อโซเชียล ซึ่งระบุว่าตนเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ แผนก....ได้กระทำนอกเวลาทำงาน-นอกสถานที่ทำงาน จะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

24. ใช้ของแหลมมีคมกรีดรถยนต์ของ-ผู้บริหาร-หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานที่จอดอยู่ ในที่นายจ้างจัดให้จนได้รับความเสียหาย จะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

25. จ่ายค่าพาหนะให้ลูกจ้างไปทำงานนอกสถานที่ เป็นรายเดือน เป็นการให้ตามตำแหน่งงานเมื่อเลื่อนตำแหน่งงานจะมีสิทธิได้รับหรือไม่....ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่...เพราะอะไร...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

26. ทำสัญญารับลูกจ้างเข้าทำงาน ลูกจ้างจึงลาออกจากงาน เพื่อมาทำงานด้วย เมื่อถึงวันทำงานนายจ้างบอกยกเลิกสัญญา (ไม่รับเข้าทำงาน) นายจ้างจะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

27. การรับทรัพย์สินจากผู้มาติดต่องานกับนายจ้างไม่ว่าลูกจ้างจะเรียกรับหรือรับในกรณีใดๆ เป็นความผิดสถานใด..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

28. คอมพิวเตอร์ที่ลูกจ้างใช้ในการทำงานซึ่งเป็นของนายจ้าง มีคลิปภาพเปลือยของชายและหญิงโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้แจกจ่ายให้แก่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น เป็นความผิดสถานใด...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

29. ลูกจ้างรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จะมีความผิดอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

30. ทำกิริยา-ท่าทางและด่าทอผู้บังคับบัญชาต่อลูกจ้างอื่น จะมีความผิดสถานใด.?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

31. มีนโยบาย ให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิด โดยให้ผลตอบแทนตามกำหนด ลูกจ้างสนใจข้อตกลงจึงลาออกและทำบันทึกร่วมกันเพื่อประกอบกับหนังสือเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าต่างๆภายหลังหรือไม่..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

32. ลูกจ้างขออนุญาตออกไปทำธุระส่วนตัวนอกสถานที่ทำงานได้ดื่มสุราแล้วเข้ามาทำงานและไม่ได้ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จะมีความผิดสถานใด..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

33. ในเวลาทำงานลูกจ้างรับซื้อสลากกินรวม จะมีความผิดสถานใด...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

34. ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างเมื่อลูกจ้างทำผิดและออกงานไปผู้ค้ำประกันจะมีความผิดร่วมและชดใช้ค่าเสียหาย ตามกฎหมายใหม่ในอัตราเท่าใด..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

35. กรณี ประธานบริษัทฯพูดกับลูกจ้างว่าถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ ให้ลาออกไป เมื่อลูกจ้างออกจากงานในวันนั้นเลยจะได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างไร..?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

36. ลูกจ้างทำผิดอาญาต่อนายจ้างได้มีการเจรจากันตกลงกันว่า นายจ้างจะไม่ดำเนินคดีอาญาต่อลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างจึงทำบันทึกว่าสลสิทธิจะไม่เรียกร้องสิ่งใดๆต่อนายจ้างและลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯไป กรณีนี้ลูกจ้างฟ้องนายจ้างภายหลังเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายแรงงานได้ไหม...เพราะอะไร...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37. เมื่อนายจ้างเลิกจ้างได้หักค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้ทำขึ้น ทำได้ไหม...เพราะอะไร...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38. เลิกจ้างไม่เป็นธรรมหมายถึงเลิกจ้างลูกจ้างที่มีความผิดลักษณะใด...?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

39. ศาลตัดสินคดีให้ผู้ฟ้องได้มากกว่าคำฟ้องได้หรือไม่....เพราะอะไร.?

• มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

40. จำเลยลงลายมือชื่อทราบวันนัดไกล่เกลี่ย-หรือนัดสืบพยานแล้ว ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุผลใดๆ ต่อศาลกระบวน การต่อสู้คดีทางศาลจะสิ้นสุดอย่างไร...?

• ถาม - ตอบ - แนะนำ

• ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย

• ถาม - ตอบ - แนะนำ

• ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - HR. - บุคคลทั่วไป

• ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย



ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 จันทร์ที่ 16 พ.ย. 2020 09:00 - 16:00 น. โรงแรมจัสมินซิตี้ ซอยสุขุมวิท 23 ใกล้ BTS อโศก กทม. ** สถานที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2010-0147
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 885
  • หมวดหมู่: การพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพ / งานบุคคล HR การทำงาน
  • คำค้นหา: การบริหารงานบุคคล ,การสอบสวนความผิด ,การกำหนดลงโทษทางวินัย,การเลิกจ้าง,การสอบสวนความผิดทางวินัย

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
  • ชื่อผู้ติดต่อ: คุณจิ๋ว
  • เบอร์มือถือ: 089 606-0444
  • เบอร์โทรอื่นๆ: 090-645-0992
  • อีเมล: jiw473@gmail.com
  • เว็บไซต์: -
  • LINE Id: Line : hrdzenter