อบรมออนไลน์ Zoom  กฎหมายแรงงาน พร้อมรับใบวุฒิบัตรฟรี หลักสูตร : เมื่อนายจ้างได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากพิษ covid-19 ระบาด   นายจ้างมีนโยบาย ลดสวัสดิการ,ลดค่าจ้าง หรือเลิกจ้าง  จะบริหารอย่างไร..ไม่ให้

รายละเอียด อบรมออนไลน์ Zoom กฎหมายแรงงาน พร้อมรับใบวุฒิบัตรฟรี หลักสูตร : เมื่อนายจ้างได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากพิษ covid-19 ระบาด นายจ้างมีนโยบาย ลดสวัสดิการ,ลดค่าจ้าง หรือเลิกจ้าง จะบริหารอย่างไร..ไม่ให้

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



หัวข้อการอบรม

 หมวด 1: การแก้ปัญหาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในองค์กร

1. กรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องปิดงานเป็นบางแผนก เป็นเวลา 30-60 วัน เป็นการชั่วคราวโดยจ่าย ค่าจ้างให้พนักงานร้อยละ 75 ของค่าจ้างนายจ้างต้องทำหนังสือและนำรายชื่อพนักงานแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐอย่างไร..? มีตัวอย่าง : การออกหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา 2. กรณีนายจ้างประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเหตุโควิด-19 ระบาดจึงมี นโยบายลดค่าสวัสดิการที่นายจ้างจ่ายให้พนักงานลงเพื่อเป็นการชั่วคราวนายจ้างจะใช้เทคนิคอย่างไร..? มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเป็นนโยบายของบริษัทฯ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา 3. กรณีนายจ้างประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเหตุโควิด-19ระบาด จึงมี นโยบายลดค่าจ้างพนักงานลงคนละร้อยละ20ของค่าจ้าง เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจตามนโยบายดังกล่าว นายจ้างจะใช้เทคนิคอย่างไร..? มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเป็นนโยบายของบริษัทฯ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา 4. กรณีนายจ้างประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเหตุโควิด-19 ระบาดทำให้มีผลกระทบในการประกอบธุรกิจและทำให้บริษัทฯมียอดขาดทุนสะสมต่อเนื่องหลายเดือนจึงมี นโยบายให้พนักงานเกษียณอายุในการทำงานก่อนกำหนดนายจ้างต้องกำหนดเป็นนโยบายให้พนักงานเกษียณงานตามโครงการและสงวนสิทธิในการอนุมัติอย่างไร..? มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเกษียณตามนโยบาย-ใบสมัคร-สิทธิในการอนุมัติตามโครงการ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา 5. กรณีนายจ้างประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยเหตุโควิด-19 ระบาดทำให้มีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ และทำให้บริษัทฯมียอดขาดทุนสะสมต่อเนื่องหลายเดือนจึงมีนโยบายเลิกจ้างพนักงานเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง นายจ้างต้องออกหนังสือเลิกจ้างและให้เหตุผลในการเลิกจ้าง ต้องแจ้ง ต้องจ่าย อย่างไร..? มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเลิกจ้างกรณีนี้ แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

6. กรณีนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุ ลูกจ้างลางาน-หยุดงานมาก หรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าใดๆภายหลังได้ นายจ้าง ต้องแจ้ง-ต้องจ่ายอย่างไร..?

  มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเลิกจ้าง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

7. ในกรณีลูกจ้าง ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตน มีความผิดทางวินัยเป็นกรณีร้ายแรง ตามข้อบังคับในการทำงานตามระเบียบปฏิบัติ เพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องเรียกร้องค่าใดๆภายหลัง ต้องสอบสวนความผิด ต้องออกหนังสือเลิกจ้างและให้เหตุผลตามความผิดอย่างไร..?

  มีตัวอย่าง : การออกหนังสือเลิกจ้างกรณีทำผิดวินัยร้ายแรง แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

8. พนักงานมาทำงานสายบ่อยๆ จะจัดการกับปัญหานี้ ให้หมดไปได้ต้องดำเนินการหรือออกกฎเหล็กอย่างไร..?

  มีตัวอย่าง : การออกหนังสือระเบียบปฏิบัติการมาทำงานสาย แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

9. ลูกจ้างลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯและจู่ๆก็ฟ้องศาลแรงงานเพื่อเรียกร้อง,ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชย, ค่าเสียหาย และบรรยายฟ้องว่าถูกนายจ้างบีบบังคับให้ลาออก เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลูกจ้างฟ้องศาลภายหลังต้องกำหนดหนังสือลาออก อย่างไร..?

   มีตัวอย่าง : การออกหนังสือลาออก แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา

หมวด 2: การพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย

10. ตำแหน่งงานที่นายจ้างมีสิทธิ เรียกรับเงินประกันการทำงานมีตำแหน่งงานใดบ้าง..?

11. ทำความเสียหายแล้วออกจากงานไปนายจ้างยึดเงินประกัน , ยึดเงินค่าจ้าง,เพื่อชดใช้ค่าเสียหายนายจ้างทำได้หรือไม่เพราะไร..?

12. นายจ้างกำหนดข้อบังคับในการทำงาน,กำหนดสัญญาจ้าง,ออกระเบียบปฏิบัติที่บังคับใช้ไม่ได้ (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?

13. นายจ้างตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว เมื่อถึงวันทำงานลูกจ้างไม่มาทำงานนายจ้างสืบทราบว่าไปทำงานที่แห่งใหม่จะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาจ้างต่อนายจ้างอย่าไร..?

 14. ประเภทลางานไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ,โทรลางาน ,ไลน์ลางาน ,ฝากเพื่อนลางาน,ลาย้อนหลังจนเป็นอาจิณ หัวหน้างานยังไม่อนุมัติการลาก็หยุดงานไป,ผู้บริหาร, HR. จะลงโทษทางวินัยอะไรได้บ้าง...จะออกกฎเหล็กเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติต้องกำหนดอย่างไร..? 15. ภายในปีชอบลาป่วยเพื่อเอายอด,ป่วยวันเดียว,ป่วยทุกอาทิตย์,ป่วยไม่จริง,ลาป่วยเท็จ, ผู้บริหาร,HR.จะมีวิธีป้องกันอย่างไร.. จะออกระเบียบปฏิบัติเพื่อให้นายจ้างเข้าตรวจสอบการลาป่วยเท็จเพื่อลงโทษทางวินัยต้องจัดการอย่างไร..?

16. หัวหน้างานอนุมัติการลาไม่ถูกระเบียบบ่อยๆจะมีความผิดอย่างไร..?(ชอบอนุมัติการลาเอาความถูกใจไว้เหนือความถูกต้อง )

17. หัวหน้างาน เพิกเฉยไม่สนใจในการสอบสวนความผิดหรือไม่ลงโทษทางวินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความผิอย่างไร..?

18. หัวหน้างาน ควบคุมงาน,ออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานไม่เป็นไปตาม นโยบาย ,ไม่เป็นไปตามเอกสารในการปฏิบัติงานที่บริษัทฯกำหนด จนเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหายจะมีความผิอย่างไร..?

19. นายจ้างเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน เปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่..เพราะอะไร

20. กรณีนายจ้าง,ลูกจ้าง มีการเจรจาและตกลงกันแต่ไม่ได้บันทึกผลการเจรจากันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร..?

21. ทำสัญญาจ้างแรงงานปีต่อปีเมื่อครบสัญญาจ้าง 1 ปีแล้วมีการต่อสัญญาจ้างใหม่และเมื่อสิ้นสุดสัญญาฉบับสุดท้ายแล้วไม่มีการจ้าง กันต่อไปอีก ลูกจ้างจะได้รับสิทธิตามกฎหมายอะไรบ้าง..?

22. ทำงานได้รับความเสียหาย นายจ้างไม่เลิกจ้างต้องการให้ชดใช้ค่าเสียหาย กฎหมายได้บัญญัติไว้ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้าง ผู้บริหาร, HR.จะใช้เทคนิคอย่างไร..? เพื่อให้ลูกจ้างได้ชำระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น 23. มีนิสัยปากจัด ชอบด่าทอ , เสียดสี เพื่อนร่วมงาน , ผู้บังคับบัญชา หรือบริษัทฯลงทาง Facebook ทาง Line จะมีความผิดอย่างไร..? 24. เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานทำงานอยู่ไม่ครบ 30วันตามที่ระบุไว้ในหนังสือลาออก ถือว่าลูกจ้างผิดสัญญาจ้าง,ผิดข้อบังคับในการทำงาน, ผิดระเบียบปฏิบัติ ลูกจ้างจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร..? 25. นายจ้างมีข้อบังคับในการทำงานและมีประกาศว่าเมื่อนายจ้างตรวจสอบพบว่าลูกจ้างมีสารเสพติดประเภทหนึ่งในร่างกายของลูกจ้างนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างกรณีนี้ทำได้หรือไม่..เพราะอะไร..? 26. กรณีลูกจ้างร้องขอให้นายจ้างสะสมเวลาทำงานในวันทำงานปกติโดยนับจากเวลาทำงานปกติ วันละ 1 ชั่วโมง เพื่อไปหยุดในวันอื่นหรือนำไปหยุดในฤดูกาลต่างๆ ทำได้ไหม..เพราะอะไร..? 27. นายจ้างมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานตามสาขาต่างๆ จึงมีคำสั่งย้ายพนักงานเข้าทำงานในสำนักงานใหญ่ กรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายตามจะได้รับสิทธิตามกฎหมายอย่างไร..? 28. อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้าง แอบอ้าง,เรียกเอาผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกเพื่อให้เข้ามาร่วมงานกับนายจ้าง จะมีความผิดตามกฎหมายแรงงานอย่างไร..? 29. กรณีลูกจ้างดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดแล้วเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างจะมีความผิดได้รับโทษทางวินัย อย่างไร..? 30. องค์ประกอบที่นายจ้างพิจารณาความผิดเป็น กรณีร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง พิจารณาจากอะไร..? เพราะจะมีผลต่อการออกหนังสือเตือน สั่งพักการทำงาน หรือ เลิกจ้างเพื่อให้สิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง 31. กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้จะมีความผิดทางแพ่ง-อาญา อย่างไร..? 32. กรณีลูกจ้างออกจากงานนายจ้างไม่ออกใบสำคัญการทำงานให้จะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อลูกจ้างอย่างไร..? 33. กรณีมีพนักงานร่วมกันชุมนุมกดดันนายจ้าง เพื่อให้จ่ายค่าสวัสดิการตามที่ต้องการ ผู้บริหาร , HR.หัวหน้างาน , จะเผด็จศึกกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ยุติลงได้อย่างไร..? เพราะทำให้มีผลกระทบต่องานและทำให้เสียการปกครอง 34. ในสัญญาจ้างระบุไว้ว่าในระหว่างเป็นลูกจ้างหรือลูกจ้างออกจากงานไปแล้วภายใน 2 ปี ห้ามมิให้ลูกจ้างไปทำงานให้กับคู่แข่งทางการค้าของนายจ้าง, เอาความลับทางการค้าของนายจ้างไปเปิดเผยให้กับบุคคลภายนอก , ในกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..? 35. พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างก่อนวันจ่ายเงินโบนัสเพียง 1 วัน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่.เพราะประวัติการทำงาน..จำนวนวันที่จะได้รับได้กำหนดไว้ก่อนวันจ่าย ไว้แล้ว 36. บอกเลิกจ้างด้วยวาจา , ด้วยลายลักษณ์อักษร , รับลูกจ้างเข้าทำงานด้วยวาจา , ด้วยลายลักษณ์อักษร , ด้วยทางโทรศัพท์ ,ด้วยทางไลน์ ด้วยทางอีเมลย์ , กรณีดังกล่าว นายจ้างได้ปฏิบัติต่อลูกจ้างสิ่งใดมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายแรงงาน เพราะอะไร..? 37. พนักงานเกษียรงานแล้ว นายจ้างต้องการจ้างให้ทำงานอีก , ต้องทำสัญญาจ้าง , กำหนดเงื่อนไขการจ้าง , กำหนดค่าจ้าง , ค่าสวัสดิการ ต่อลูกจ้างอย่างไร....ในกรณีเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายหรือไม่ เพราะไร..? 38. ลูกจ้างลาออกจากงานต่อหัวหน้างานจะมีผลเมื่อใด..หรือเมื่อใบลาออกไปถึงผู้บริหารที่เป็นผู้มีอำนาจทราบแล้วแต่ยังไม่อนุมัติการลาออก ,วันต่อมาลูกจ้างขอยกเลิกการลาออก กฎหมายให้สิทธิต่อนายจ้าง ,หรือต่อลูกจ้างอย่างไร..?

39. วันลากิจได้รับค่าจ้าง ,วันลาพักผ่อน ,วันลาพักผ่อนที่สะสมไว้ , เมื่อลูกจ้างออกจากงาน,ลาออก ,ถูกเลิกจ้าง,สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ,ไม่ผ่านการทดลองงาน,เกษียรงานตามโครงการ , กรณีดังกล่าวลูกจ้างจะได้รับสิทธิอย่างไร..? 40. เมื่อลูกจ้างออกจากงาน,ลาออก ,ถูกเลิกจ้าง,ละทิ้งหน้าที่,สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ,ไม่ผ่านการทดลองงาน,เกษียรงานตามโครงการ , ถูกไล่ออก , กรณีดังกล่าวลูกจ้างจะได้รับสิทธิการประกันการว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอย่างไร..?

• ถาม - ตอบ - แนะนำ

• ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดการไม่มีค่าใช้จ่าย



ข้อมูลอื่นๆ



วิทยากร อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน

ประวัติการทำงาน / ประสบการณ์

เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลางกรุงเทพฯ 9 ปี

รายละเอียดหลักสูตรอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิ๊ก http://www.hrdzenter.com/

สำรองที่นั่ง ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ คุณธนนันท์ 090 645 0992 , 089 606 0444, Line : hrdzenter

www.hrdzenter.com ,E-mail : hrdzentertraining@gmail.com , jiw473@gmail.com www.facebook.com/hrdzenter, IG : hrd_zenter



ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 ศุกร์ที่ 9 ก.ค. 2021 13:00 - 17:00 น. online ผ่าน Program Zoom ได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

ข้อมูลอบรม

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: Hrdzenter
  • ชื่อผู้ติดต่อ: คุณจิ๋ว
  • เบอร์มือถือ: 090 645-0992
  • เบอร์โทรอื่นๆ: 0896060444
  • อีเมล: jiw473@gmail.com
  • เว็บไซต์: www.hrdzenter.com
  • LINE Id: hrdzenter