กฎหมายแรงงานและการพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย

รายละเอียด กฎหมายแรงงานและการพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัย

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงการทำสัญญาจ้าง การออกระเบียนปฏิบัติ หรือการทำข้อตกลง การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่างๆ กรณีใดที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายไม่มีสภาพใช้บังคับตามกฎหมาย ( เป็นโมฆะ ) มีกรณีใดบ้าง...

2. เพื่อให้ผู้บริหาร - HR. หัวหน้างาน ทราบถึงการพิจารณาความผิดเพื่อลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับในการทำงาน กรณีใดลงโทษทางวินัยเป็นหนังสือเตือน กรณีใดลงโทษเป็นหนังสือสั่งพักการทำงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างหรือเป็นกรณีเลิกจ้างได้

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมพิจารณาเป็นกรณีศึกษา ในการพิจารณาการทำข้อตกลง การพิจารณาความผิดทางวินัย การละเมิดสิทธิของนายจ้าง การได้รับสิทธิของลูกจ้างในกรณีลูกจ้างออกจากงาน และเพื่อวิเคราะห์นำมาเป็นแนวทางในการบริหารงานในองค์กร ของนายจ้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หัวข้อในการอบรม

1. กรณีลูกจ้างสมัครงานแล้วไม่มาทำงานจะรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีผิดสัญญาต่อนายจ้างอย่างไร..?

2. ตำแหน่งงานที่ นายจ้างมีสิทธิเรียก รับเงินประกันการทำงานตามกฎหมายมีตำแหน่งงานใดบ้าง..?

3. นายจ้างทำสัญญาจ้าง-ออกระเบียบปฏิบัติหรือคำสั่ง ที่ไม่มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย (เป็นโมฆะ) มีกรณีใดบ้าง..?

4. นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างลูกจ้างมีหักค่าอะไรบ้าง...ในกรณีลูกจ้างทำบันทึกข้อตกลงไว้มีขอบเขตการหักเพียงใด..?

5. ทำสัญญาจ้างแรงงานปีต่อปี เมื่อครบสัญญาจ้าง 1 ปีแล้วมีการต่อสัญญาจ้างใหม่และเมื่อสิ้นสุดสัญญาฉบับสุดท้ายแล้วไม่มีการจ้างงานกันต่อไปอีก นายจ้างต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?

6. ทำสัญญาจ้างแรงงาตำแหน่งขับรถให้ผู้บริหารตกลงกันจ่ายค่าจ้างเป็นเดือนโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้นายจ้างทำได้ไหม..เพราะอะไร..?

7. พนักงานมาทำงาน สายบ่อยๆ กรณีนายจ้างมีนโยบายเลิกจ้างต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร..?

8. ประเภทลางานไม่ถูกระเบียบบ่อยๆ เช่น โทรลางาน -ไลน์ลางาน - ฝากเพื่อนลางาน-ชอบลางานย้อนหลัง จนเป็นอาจิณ ในกรณีหัวหน้างานยังไม่อนุมัติการลาก็หยุดงานไป ผู้บริหาร - HR. ลงโทษอะไรได้บ้าง..จะออกกฎเหล็กเพื่อแก้ปัญหาต้องจัดการอย่างไร..?

9. ภายในปีชอบลาป่วยเพื่อเอายอด-ป่วยวันเดียว-ป่วยทุกอาทิตย์-ป่วยไม่จริง-ป่วยเท็จ ผู้บริหาร-HR.จะมีวิธีป้องกันอย่างไร

10. รับลูกจ้างเข้าทำงานด้วยวาจา-ด้วยลายลักษณ์อักษร-บอกเลิกจ้างด้วยวาจา-ด้วยลายลักษณ์อักษร-ด้วยทางโทรศัพท์ - ด้วยทางไลน์ - ด้วยทางอีเมลย์ กรณีดังกล่าวนายจ้างได้ปฏิบัติต่อลูกจ้าง มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายแรงงาน หรือไม่เพราะอะไร..?

11. กรณีลูกจ้างร้องขอให้นายจ้างสะสมเวลาทำงานในวันทำงานปกติวันละ 1 ชั่วโมง โดยนับเกินจากเวลาทำงานปกติ เพื่อสะสมไปหยุดในวันทำงานวันอื่นทำได้ไหม..เพราะอะไร..?

12. มีนิสัยปากจัดชอบด่าทอเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาจนมีเพื่อนร่วมงานตั้งฉายาให้และชอบปฏิบัติตนผิดวินัยบ่อยๆจนเป็นอาจิณ หัวหน้างานปกครองไม่ได้อยากเลิกจ้าง ต้องจัดการอย่างไร..?

13. กรณีลูกจ้างส่งข้อความด่าทอ นายจ้าง -หัวหน้างาน หรือ เพื่อนร่วมงานทางสื่อโซเชียล เช่น ทางเฟสบุ๊ค-ทางไลน์ จนเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย-อับอาย-เสียชื่อเสียง เป็นความผิดลงโทษสถานใด..?

14. นายจ้างมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานตามสาขาต่างๆ จึงมีคำสั่งย้ายพนักงานเข้าทำงานในสำนักงานใหญ่ กรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายตามจะมีความผิดขัดคำสั่งหรือไม่...และหรือลูกจ้างจะได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างไร..?

15. นายจ้างเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง-เปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานหรือไม่..เพราะอะไร..?

16. นายจ้างมีข้อบังคับในการทำงานและมีระเบียบปฏิบัติไว้ว่าเมื่อนายจ้างตรวจสอบพบว่าลูกจ้างมีสารเสพติดประเภทหนึ่งในร่างกายของลูกจ้างนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้าง กรณีนี้ทำได้หรือไม่..เพราะอะไร..?

17. ลูกจ้างมีปัญหากันในเวลาทำงานได้ด่าทอ ต่อว่ากันอย่างเสียหาย หลังจากเลิกงานแล้วยังไปดักทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกที่ทำงานอีก นายจ้างลงโทษทางวินัยอะไรได้บ้าง...เพราะเหตุเกิดนอกที่ทำงาน

18. ลูกจ้างชายกระทำการล่วงเกินทางเพศลูกจ้างหญิงด้วยวาจา ทั้งยังทำท่าทางประกอบหลายครั้งจนลูกจ้างหญิงรู้สึกอาย ไม่อยากมาทำงานและ/หรือได้แจ้งหัวหน้างานเพื่อขอย้ายหน่วยงาน นายจ้างลงโทษอะไรได้บ้าง..?

19. นายจ้างส่งลูกจ้างไปอบรมทำข้อตกลงกับลูกจ้างให้ไปอบรม 14 วัน เมื่อกลับมาต้องทำงานกับนายจ้างเป็นเวลา 3 ปี ถ้าไม่กลับมาหรือทำงานไม่ครบ 3 ปี ให้เสียเบี้ยวปรับ 3 เท่าของค่าใช้จ่าย สัญญาหรือข้อตกลง เช่นนี้ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่...เพราะอะไร..?

20. อาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้าง แอบอ้าง เรียกเอา ผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกเพื่อให้เข้ามาร่วมงานกับนายจ้าง จะมีความผิดตามกฎหมายแรงงานอย่างไร..?

21. วันหยุดตามประเพณีได้กำหนดและประกาศไปแล้ว นายจ้าง - ลูกจ้าง ต้องการเปลี่ยนไปหยุดในวันอื่น (สลับวันหยุด) ผู้บริหาร - HR.ต้องดำเนินการอย่างไร..?

22. จัดรถนำเที่ยวให้กับพนักงาน เพื่อไปพักผ่อนประจำปี - ค่าอาหาร - ค่าเครื่องดื่ม - ค่าที่พักนายจ้างออกให้ทั้งหมด กรณีมีพนักงานชกต่อยกันจนได้รับบาดเจ็บ นายจ้างมีสิทธิลงโทษตามระเบียบวินัย ได้หรือไม่ (เพราะเป็นสถานที่และนอกเวลาทำงานให้กับนายจ้าง)

23. หลังเลิกงานนายจ้างจัดงานเลี้ยงประจำปีที่ร้านอาหารให้กับพนักงาน มีพนักงานเมาแล้วจำหน้ากันไม่ได้จึงชกต่อยกันในงานเลี้ยง นายจ้างมีสิทธิลงโทษตามระเบียบวินัยได้หรือไม่..? (เพราะเป็นสถานที่และนอกเวลาทำงานให้กับนายจ้าง)

24. มีเอกสารจากกองบังคับคดี ให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้าง ต้องทำอย่างไร.. และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิถูกหักเข้ากองบังคับคดี เพื่อชดใช้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลมีเงินอะไรบ้าง..?

25. ลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าล่วงเวลาในเวลาทำงาน-ค่าทำงานในวันหยุด-ค่าล่วงเวลาในวันหยุดมีตำแหน่งงานใดบ้าง..พิจารณาจากอะไร..?

26. ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างว่า เมื่อลูกจ้างออกจากงานก่อนกำหนด ลาออกไม่ถูระเบียบ หรือปฏิบัติงานไม่ถึงวันที่ระบุไว้ในหนังสือลาออก ลูกจ้าง ยินดีสละสิทธิไม่ขอรับเงินประกันการทำงานคืน สัญญาจ้างหรือข้อตกลงนี้ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..?

27. ในสัญญาจ้างระบุไว้ว่าในระหว่างเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างหรือลูกจ้างออกจากงานไปแล้วภายในระยะเวลา 2 ปี ลูกจ้างจะไม่นำความลับทางการค้าของนายจ้างไปเปิดเผย หรือจะไม่ไปทำงานกับคู่แข่งทางการค้าของานายจ้าง กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดหรือไม่..สัญญาจ้างบังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่...เพราะอะไร..?

28. ทำความเสียหายแล้วออกจากงานไป นายจ้างยึดเงินประกันการทำงาน - ยึดเงินค่าจ้าง - เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น นายจ้างทำได้หรือไม่..? เพราะไร..?

29. นายจ้าง ลูกจ้าง มีการเจรจาและตกลงกันแต่ไม่ได้ทำบันทึกผลการเจรจากันไว้จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..?

30. กรณีมีพนักงานร่วมกันชุมนุมกดดันนายจ้างเพื่อให้จ่ายค่าสวัสดิการตามต้องการ ผู้บริหาร - HR.หัวหน้างานจะเผด็จศึกกับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือใช้เทคนิคให้ปัญหายุติลงได้อย่างไร..?

31. ลูกจ้างลาออกจากงานเมื่อหนังสือลาออกไปถึงผู้บริหารที่เป็นผู้มีอำนาจทราบแล้วแต่ยังไม่อนุมัติการลาออกจะมีผลทางกฎหมาย หรือยัง กรณีวันต่อมาลูกจ้างขอยกเลิกการลาออก กฎหมายให้สิทธิต่อนายจ้าง หรือต่อลูกจ้างอย่างไร..?

32. กรณีลูกจ้างลาออก-วันลากิจได้รับค่าจ้าง -วันหยุดพักผ่อนประจำปี-วันหยุดที่สะสมไว้ ลูกจ้างจะได้รับสิทธิอย่างไร..?

33. เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานอยู่ไม่ครบ 30 วันถือว่าลูกจ้างผิดสัญญาจ้าง-ผิดข้อบังคับในการทำงาน ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร..?

34. พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างก่อนวันจ่ายเงินโบนัสเพียง 1 วัน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่..เพราะประวัติการทำงาน..จำนวนวันที่จะได้รับเงินโบนัสได้กำหนดไว้ก่อนวันจ่าย ไว้แล้ว

35. กรณีลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างไม่ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ต่อลูกจ้างอย่างไร..?

36. นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างพ้นสภาพก่อนครบกำหนดในหนังสือลาออก โดยจ่ายค่าจ้างให้จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเป็นการเลิกจ้างหรือไม่..?

37. กรณีนายจ้างได้กำหนดวันให้ลูกจ้างลาพักผ่อนและวันลากิจได้รับค่าจ้างอย่างแน่นอนแล้วและภายในปีลาให้หมด เมื่อลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิลา นายจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเป็นเงินแทนหรือไม่..เพราะอะไร..?

38. กรณีลูกจ้างลาออกจากงาน - ถูกไล่ออก - ถูกปลดออก - หรือนายจ้างเลิกจ้าง กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างและเงินประกันการทำงานให้กับลูกจ้างภานในกี่วัน..?

39. เมื่อลูกจ้างออกจากงาน - ลาออก - ละทิ้งหน้าที่ - สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง -ไม่ผ่านทดลองงาน - เกษียรงานตามโครงการ - ถูกไล่ออก - ปลดออก กรณีดังกล่าว ลูกจ้างจะได้รับสิทธิการประกันการว่างงาน จากสำนักงานประกันสังคมอย่างไร..?

40. องค์ประกอบที่ นายจ้าง ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานพิจารณาความผิด เป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง พิจารณาจากอะไร.. เพราะจะมีผลต่อการออกหนังสือเตือน - หนังสือสั่งพักการทำงาน - เลิกจ้างเพื่อให้สิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง

• ถาม - ตอบ - แนะนำ

• ผู้เข้าร่วมสัมมนา - นายจ้าง - ผู้บริหาร - HR. - บุคคลทั่วไป

• ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย



ข้อมูลอื่นๆ



อบรมออนไลน์ Zoom พร้อมรับใบวุฒิบัตรฟรี 

ราคาพิเศษ เพียงท่านละ 1,900 บาทเท่านั้น / สมัคร 3 เข้าฟรี 1 ท่าน


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 อังคารที่ 14 มิ.ย. 2022 13:00 - 17:00 น. อบรมออนไลน์ Zoom

ข้อมูลอบรม

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด
  • ชื่อผู้ติดต่อ: คุณจิ๋ว
  • เบอร์มือถือ: 090 645-0992
  • เบอร์โทรอื่นๆ: 089 606 0444
  • อีเมล: jiw473@gmail.com
  • เว็บไซต์: -
  • LINE Id: Line : hrdzenter