Online Training : แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPO ประจำองค์กร

รายละเอียด Online Training : แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPO ประจำองค์กร

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร”เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

ดังนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมายฉบับนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ประจำองค์กร ที่กฎหมายกำหนดให้มีขึ้นพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เป็นผู้ให้คำแนะนำและตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายฉบับนี้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า แล้ว DPO ควรมีบทบาทหน้าที่และแนวการปฏิบัติงานอย่างไร ?

วัตถุประสงค์การฝึกอบรม

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. สามารถจัดทำ แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review)การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในบทบาทของ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม

➢ เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

➢ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

· ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

· ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

· สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

· หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล

· ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

· ความรับผิดและบทลงโทษดตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา - โทษทางปกครอง

➢ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15ภารกิจที่องค์กรต้องทำ

➢ การจัดเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ PDPA อาทิ หนังสือให้ความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Consent From) เอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice) ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form) เป็นต้น

➢แนวการทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

➢ แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection ImpactAssessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง

➢ การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection OfficerGuideline)

· ความจำเป็น ทักษะและคุณสมบัติที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

· ข้อควรระวังที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

· ความรับผิดของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

· 6 ภารกิจหลักกับ 11 แนวปฏิบัติที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 42

- การเตรียมตัวและทำความเข้าใจขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลฯ

- การให้คำปรึกษา/ทบทวนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร

- การตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

- การควบคุมดูแลให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภายในและภายนอก

- การให้ความร่วมมือและการประสานงานกับหน่วยงานด้านการกับกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

- การจัดการคำร้องขอและข้อร้องเรียนของเจ้าของข้อมูล

➢ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการการจัดทำข้อมูลนิรนาม(Guideline for Anonymization)

➢ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลอ่อนไหว (Guidelines for Sensitive Personal Data)

➢ ฝึกปฏิบัติ (Workshop)

- การจัดทำ Personal Data Discovery

- การจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลฯ (ROPA)

- การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA)

- การร่างนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแบบฟอร์ม PDPA ที่เกี่ยวข้อง

➢ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับ เจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม นายจ้าง และ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

ระยะเวลาการฝึกอบรม (Time) หลักสูตร ONLINE 6 ชั่วโมง เวลา 09.00 -16.00 น. (รับวุฒิบัตร)

รูปแบบการอบรม (Methodology)

1. Zoom Online Meeting บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา สนทนาและตอบข้อซักถาม

2. เอกสารประกอบการบรรยายจะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF ให้ก่อนวันอบรม 2-3 วัน

อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ

กำหนดการ วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565

สถานที่ Zoom Online Meeting

ราคา 2,500 บาท

- ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

- นิติบุคคล สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%


ข้อมูลอื่นๆ



บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

เลขที่ 98/83 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130

www.knctrainingcenter.com

knctrainingcenter@hotmail.com

โทร. : 02-157-9083, 062-315-5283


ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 พุธที่ 27 ก.ค. 2022 09:00 - 16:00 น. Online

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-2207-0051
  • ประเภทการอบรม: อบรมออนไลน์
  • จำนวนผู้เข้าชม: 728
  • หมวดหมู่: งานบุคคล HR การทำงาน
  • คำค้นหา: -

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
  • ชื่อผู้ติดต่อ: กนกวรรณ
  • เบอร์มือถือ: 062 315-5283
  • เบอร์โทรอื่นๆ: -
  • อีเมล: knctrainingcenter@hotmail.com
  • เว็บไซต์: www.knctrainingcenter.com
  • LINE Id: Knctraining